ว่ากันว่าต้นกำเนิดของ ข้าวแช่ แท้จริงแล้วเป็นอาหารของชาวมอญ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงหงสาวดีเป็นราชธานีมอญ เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัฒนธรรมการทานข้าวแช่ก็ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ และแทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวไทยด้วย สาเหตุที่เรียกกันว่า ข้าวแช่ เป็นเพราะเวลาทำต้องนำข้าวหุงใส่น้ำเย็น ลอยด้วยดอกไม้ไทยกลิ่นหอม เช่น มะลิ, ดอกชมนาด, กุหลาบ หรือกระดังงา โดยจะทาน

กับเครื่องเคียงที่บรรจงประดิดประดอยอย่างงดงาม ไม่ว่าจะเป็น ลูกกะปิชุบไข่ทอด, หัวหอมแดงทอด, ไชโป๊หวาน, พริกหยวกสอดไส้, ปลาหวาน, เนื้อหรือหมูฝอยผัดหวาน รวมถึงผักสดต่างๆ เช่น ขมิ้นขาว,กระชาย, มะม่วงดิบ และแตงกวา สมัยก่อนนิยมทานเมนูนี้ในช่วงฤดูร้อนเพื่อคลายร้อน และคืนความสดชื่น แต่ในยุคปัจจุบัน ถือเป็นเมนูหาทานยาก เหลือต้นตำรับข้าวแช่ตัวจริงเพียงไม่กี่สำนัก.

ข้าวแช่ หรือ ข้าวสงกรานต์ คนมอญจะเรียกว่า  เปิงด้าจก์ (เปิง แปลว่า ข้าว  ด้าจก์ แปลว่า น้ำ   เมื่อตอนเด็ก ๆ จะได้ยินแต่คำว่า ข้าวน้ำ  จะได้ลองลิ้มชิมรสก็ต่อเมื่อวันสงกรานต์เท่านั้น

ข้าวแช่ เป็นอาหารที่เกี่นวข้องกับพิธีกรรม มีขั้นตอนในการทำพิถีพิถันมาก ใช้เวลาในการจัดเตรียมเป็นเดือน ทั้งน้ำที่จะเป็นน้ำอบ ต้องรอจากฝนกลางแจ้งมาเก็บไว้ (สมัยนี้ใช้น้ำต้มสุกก็ได้) ต้องตำรำข้าวใหม่ ๆ ขี้ผึ้งที่ได้มาจากน้ำผึ้งเดือน    ๕  นำมาเผาบนรำข้าวให้หอม ไว้อบน้ำ (สมัยนี้ใช้เทียนหอมสำเร็จรูป)ปลาแห้ง ต้องเป็นปลาช่อนนา ตัวโต ตากแดดเก็บไว้ เหล่านี้เป็นต้น

 

มีเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรธิดา ทำการบวงสรวงต่อเทวดา ฟ้าดิน พระอาทิตย์ พระจันทร์ กาลเวลาล่วงเลยไป ๓ ปี ก็ยังไม่มีบุตร อยู่ต่อมาเป็นวันในคิมหันตฤดูฝน คนทั้งหลายเล่นนักขัตฤกษ์ต้นปีใหม่ พระอาทิตย์ก็มาสู่เมษราศี   เป็นวันมหาสงกรานต์ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังโคนต้นไทรใหญ่ริมน้ำอันเป็นที่อยู่ของรุกขเทวดาทั้งหลาย และได้นำข้าวสารล้างน้ำถึง ๗ ครั้ง แล้วหุงบูชารุกเทวดาประจำพระไทรนั้น

ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร   และรุกขเทวดาพระไทรนั้นก็เมตตา ให้เทพบุต รคื่อ(ธรรมบาลกุมาร)มาเกิดเป็นบุตรของเศรษฐีสมความปรารถนา ครั้นต่อมา ชาวมอญมีความเชื่อว่า หากได้กระทำพิธีเช่นว่านี้ บูชาต่อเทวดา ในเทศกาลสงกรานต์แล้ว สามารถตั้งจิตอธิษฐาน ขอสิ่งใดจะได้ดังหวัง  ข้าวแช่จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเซ่นไหว้เทวดาด้วย


 

ขอคุณข้อมูลจาก http://rb-history.blogspot.com/2010/08/blog-post_17.html

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น