ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้าง ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์

     ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธบิดา ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี แค้วนวัชชี ทรงจำพรรษา ณ ที่นี้เป็นพรรษาที่ ๕ ครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระเจ้าสุโธทนะ ทรงประชวรหนักจึงเสด็จเยี่ยมพระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์พุทธสาวก ครั้นเสด็จ ถึงแล้วได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาให้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้น ๗ วัน พระพุทธบิดาก็สวรรคต พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์และพระประยูรญาติจึงพร้อมกันจัดถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธบิดา

     พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกถูกประทุษร้าย การที่พระพุทธองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงมั่นคง ในมัธยมประเทศ (ภาคกลางชมพูทวีป) และแพร่หลายไปในที่ต่างๆอย่างรวดเร็วนั้น ก็ด้วยการร่วมกำลังกันเผย แพร่ของพุทธบริษัทที่สำคัญคือ พระสงฆ์ พุทธสาวก และบรรดาพระสงฆ์สาวกนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ พระอัครสาวกทั้ง ๒ คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานะเถระ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ จึงเป็นที่อิจฉาริษยาของมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มากนั้น มีผู้ปองร้ายอยู่ตลอดเวลา ครั้งหนึ่งเมื่อท่านจำพรรษาอยู่ที่กาฬศิลา แคว้นมคธ ก็ได้ถูกกลุ่มอาชญากรประทุษร้ายด้วยการว่าจ้างของกลุ่มมิจฉาทิฏฐิ

     แม้พระพุทธศาสนาจะได้เจริญแพร่หลายแล้ว จำนวนพุทธสาวกได้เพิ่มขึ้น พุทธบริษัทมากมายจนนับไม่ถ้วนถึงกระนั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงหยุดยั้งในการทรงบำเพ็ญพุทธกิจ คงเสด็จจาริกไปแสดงธรรมโปรดประชาชนทั่วไปตลอดเวลา ๔๕ พรรษา นับแต่พรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จนพรรษาสุดท้ายที่หมู่บ้านเวฬุคาม แขวงเมืองเวสาลี ณ ที่นี้ และพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรหนักแต่ทรงข่มเสีย ด้วยพระสติสัมปชัญญะ ครั้นออกพรรษาแล้วล่วงวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระพุทธองค์จึงทรงปลงพระชนมายุสังขาร คือ ทรงกำหนดพระทัยเรื่องพระชนมายุว่าต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน พระองค์จักปรินิพพาน

     ต่อแต่นั้นมา พระพุทธองค์ก็เสด็จจาริกโปรดเวไนยไปในที่ต่างๆ จนเสด็จถึงเมืองปาวา เข้าประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ บุตรนายช่างทอง ได้เสวยพระกายาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะถวาย ทรงแสดงธรรมโปรดนายจุนทะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วทรงอำลานายจุนทะ เสด็จดำเนินต่อไป ผ่านสถานที่ต่างๆไปโดยลำดับจนถึงป่าสาลวัน เขตเมืองกุสินารา รับสั่งพระอานนท์ให้ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง ให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดร แล้วประทับสำเร็จสีหไสยา คือ การบรรทมตะแคงขวาเป็นอนุฏฐานไสยา คือ การบรรทม โดยมิได้ทรงกำหนดว่าจะทรงลุกขึ้นเมื่อนั้น เมื่อนี้ ณ ตอนบ่ายวันเสด็จถึงนั้น และในคืนวันนั้น สุภัททะปริพาชก ได้มาเฝ้าขออุปสมบทเป็นพระสาวกองค์สุดท้าย ของพระพุทธองค์ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้ประทานพระโอวาท แก่ภิกษุสงฆ์ ครั้นถึงยามสุดท้ายแห่งวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน

     ครั้นรุ่งเช้า เมื่อข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์ทราบถึงพวกมัลลกษัตริย์และชาวเมืองกุสินาราแล้วกษัตริย์ และประชาชนก็ได้พากันมานมัสการพระบรมพุทธสารีระแสดงความโศรกเศร้าอาลัยโดยทั่วหน้า ครั้นล่วงไป ๗ วันแล้ว จึงเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ มกุฎพันธนเจดีย์ เพื่อถวายพระเพลิงเมื่อพระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยบริวารมาถึง และที่ประชุมพร้อมแล้ว จึงได้พร้อมกันถวายพระเพลิงครั้น ถวายพระเพลิงเสร็จ แล้วพวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราก็ได้รวบรวมพระบรมสารีริกธาตุที่เหลืออัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ ณ สัณฐาคารศาลาภายในพระนครเพื่อเป็นที่สักการบูชาสืบไป ต่อมามีกษัตริย์และพราหมณ์ตามเมืองต่างๆ ได้มาขอพระบรมธาตุ กล่าวคือกษัตริย์เมืองราชคฤห์ เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลลกัปปะ เมืองรามคาม พราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปกะ และเมืองปาวา มัลลกัษตริย์ก็แจกจ่ายถวายโดยทั่วกัน ส่วนโทณพราหมณ์ เมืองกุสินารา ผู้ทำหน้าที่แบ่งพระบรมธาตุ ได้ทะนานตวงพระธาตุไว้เป็นสักการบูชา

……………………………………………

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : เว็บไซต์วัดบ้านทุ่งเสรี / และรูปภาพสวยๆ จาก Facebook Buddhism

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

     ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาต ในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากถ้ำสูกรขตา ข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

(๑.) วันนั้นเป็นวันมาฆปุณณมี วันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน มาฆะ
(๒.) พระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
(๓.) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
(๔.) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง

     พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวนี้ เป็นโอกาศดียิ่งที่จะได้ทรงแสดงหลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงทรงเปิดการประชุมและทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมนั้น

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

     ทรงโปรดชาวเมืองพาราณสี ต่อมา เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปนะมฤคทายวัน อันเป็นพรรษาแรกนั้นเอง พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปทาพิกถาโปรดกุลบุตรชื่อ “ยสะ” ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีให้ได้บรรลุ พระอรหันตตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๗ ในโลก ทั้งได้ทรงแสดงโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก และ นับเป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทั้งได้โปรดมารดาและภรรยาของท่านยสะให้เลื่อมใส ได้ประกาศตนเป็นอุบาสิกา ซึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต่อแต่นั้นมา ๒-๓ วัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ผู้เป็นสหายของท่านยสะทั้ง ๔ คน ชื่อ วิมละ สุพาหุ ปณณชิ และควัมปติ ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระอรหันต์ในโลกจำนวน ๑๑ องค์ ต่อมาอีกไม่นานนัก สหายของท่านยสะซึ่งเป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน ก็ได้บวชตามยสะ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อุปสมทบด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกองค์ นับจำนวนพระอรหันต์ในโลกเพิ่มขึ้นเป็น ๖๑ องค์

     ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อมีพระอรหันต์สาวกจำนวนมากถึง ๖๐ องค์ และเวลานั้นก็ได้สิ้น ฤดูฝนแล้ว พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นโอกาสดี สมควรส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาแล้วจึง มีพระพุทธดำรัสสั่งพระอรหันต์สาวก ให้ไปจาริกในที่ต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน โดยให้แยกย้ายกันไป มิให้ไปรวมกัน ให้ไปแสดงธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย ส่วนพระองค์เองก็จะเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา กรุงราชคฤห์ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

     ทรงแสวงหาโมกขธรรม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ต่อมาพระสิทธัตถะได้เสด็จออกจากอนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ แล้วไปยังที่ต่างๆ จนถึงเขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม (ความพ้นทุกข์) ครั้งเสด็จเข้าไปอบรมศึกษาใน สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสำนักอุทกดาบสรามบุตร ทรงเห็นว่าลัทธิของ ๒ สำนักนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ใด จึงทรงอำลาจากสำนักดาบสทั้งสองนั้น เสด็จจารึกแสวงหาโมกขธรรมต่อไปจนถึง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันมีแม่น้ำเนรัญชราไหลผ่าน ได้ประทับอยู่ในป่า ณ ตำบลนี้ ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยประการต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่ก็ไม่ทรงพบทางพ้นทุกข์ได้ ในเวลานั้น พวกปัญจวัคคีย์ คือ ภิกษุ ๕ รูป อันได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ มีความเลื่อมใสในพระสิทธัตถะด้วยเชื่อว่าพระองค์ จนได้สำเร็จ เป็นพระพุทธเจ้า จึงได้พากันมาเฝ้าปฏิบัติพระองค์ด้วยความเคารพ

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

พี่ดวงเฮงเอาความรู้เรื่องประวัติพระพุทธศาสนาในแบบย่อที่อ่านง่าย รวดเร็ว มาฝากเพื่อนๆ ตั้งแต่พระพุทธเจ้าประสูติ จนถึงปรินิพพาน ขอให้สนุกกับการอ่านนะจ๊ะ 🙂


พระพุทธศาสนา
 เป็น ศาสนาแห่งความรู้ เพราะเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาองค์สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งของโลก พระพุทธเจ้านั้นเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหามายา มีประวัติความเป็นมาปรากฎตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดแจ้ง พระประวัติของพระพุทธองค์นั้นพึงทราบโดยสังเขปดังต่อไปนี้

     ชาติภูมิ ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีรัฐที่อุดมสมบูรณ์รัฐหนึ่งชื่อ “สักกะ” หรือ “สักกชนบท” ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโรหิณี ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศเนปาล กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของรัฐนี้ กษัตริย์ศากยวงศ์ทรงปกครองรัฐนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีหนุ ซึ่งมีพระนางกัญจนาเป็นพระอัครมเหสี ต่อมา พระเจ้าสีหนุได้ทรงจัดให้พระราชโอรสองค์ใหญ่พระนามว่า สุทโธทนะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมหามายา พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ และพระนางยโสธราอัครมเหสีแห่งกรุงเทวะทหะ โดยทรงประกอบพระราชพิธีขึ้น ณ อโศกอุทยาน กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อมา

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น