วัดต้นเกว๋น” …  ตั้งอยู่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (เส้นทางหางดง – สะเมิง)

         วัดต้นเกว๋น (ออกเสียงเกว๋นสูง ๆ นะครับ) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามและทรงคุณค่ายิ่ง  แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม

สถาปนิกสยามจึงประกาศยกย่องให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น เมื่อปี พ.ศ.2532

ปัจจุบัน วิหารวัดต้นเกว๋น เป็นแบบให้นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม

 

ประวัติ

       ตั้งชื่อตามต้นหว้า ซึ่งขึ้นตรงบริเวณที่สร้างวิหารในปัจจุบัน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทราวาส ซึ่งตั้งตามชื่อเจ้าอาวาส ผู้สร้างวัดนี้ คือ ครูบาอินทร์ ตามหลักฐานที่บันทึกเป็นภาษาไทยบนเพดานวิหาร คาดว่า วัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2401สำหรับ มณฑปจตุรมุข สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.2399 – 2412 ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 6 เพื่อเป็นสถานที่หยุดพักขบวนแห่พระธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มายัง เมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนแถบนี้ได้มาบูชาและสรงน้ำพระธาตุ แล้วจึงอัญเชิญต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนคร และประชาชนในเมืองเชียงใหม่สรงน้ำบูชาอันเป็นประเพณีทุกปี

วิหารวัดต้นเกว๋น

เป็นวิหารแบบล้านนาโบราณ หน้าบันประดับกระจกแก้วสีแบบฝาตาฝ้าหรือฝาประกน

โก่งคิ้วจำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค

มีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้อยู่หัวเสา

ด้านหน้าบันปีกนกจะแกะสลักเป็นเศียรนาคในเครือลายเถาผสมกนก

ตีเป็นช่องตารางเพื่อระบายอากาศ

ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาคอย่างงดงาม

คันทวยหูช้างจำหลักไม้เป็นรูปกินนรฟ้อนรำ

 

มณฑปจตุรมุข

  • ป็นมณฑปจตุรมุขแบบพื้นเมืองล้านนาซึ่งพบเพียงหลังเดียวเท่านั้นในภาคเหนือ
  • ลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน
  • ส่วนกลางของศาลามีจั่วซ้อนอยู่สองชั้น
  • มุงด้วยกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่า กระเบื้องดินขอ
  • ที่พิเศษกว่านั้นคือ ช่อฟ้าของหลังคาหลังนี้ ช่างโบราณได้ออกแบบให้เป็นนกที่มาเกาะได้อย่างลงตัว
  • ที่กลางสันหลังคามีซุ้มมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า “ปราสาทเฟื้อง” ลักษณะเดียวกับที่พบในภาคอีสานและลาว

       

นอกจากนี้ในมณฑปยังมีอาสนะสำหรับตั้งโกศพระบรมธาตุ ซึ่งยังอยู่ในสภาพดี  มีฮางฮด หรือ รางริน สำหรับรองน้ำสุคนธธารา หรือ น้ำอบน้ำหอมที่นำมาหยดหล่อพระธาตุ และยังมีเสลี่ยงสำหรับหามบั้งไฟจุดบูชา สลักลวดลายดอกสวยงาม แต่ปัจจุบันทรุดโทรมไปแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.peerawich.com

 

2 comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น