ใครอยากเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มั่นคง โชดดีมีชัย เชิญทางนี้จ้า….

พี่ดวงเฮง กับพี่ดวงดี ได้มีโอกาสไปสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ มา จริงๆ ไปกันบ่อยๆ และรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้เข้าไป พี่ดวงเฮงรู้สึกถึงความสักสิทธิ์และเนื่องจากความมีตำนาน ที่ที่มาที่ยาวนาน เลยยิ่งทำให้รารู้สึกว่าการที่เราไปมากราบไหว้สักการะ นั้นทำให้เราสบายใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ ใครที่ยังไม่เคยไป พี่ดวงเฮงแนะนำให้ไปได้เลยนะ ไม่ต้องเตรียมอะไรทั้งสิ้นที่นั่นเค้าจะมีชุดบูชาให้อยู่แล้ว เริ่มต้นที่ 15 บาท ไปจนถึงชุดใหญ่ที่ 60 บาท เท่านั้นเอง (แนะนำว่าให้ไปซื้อชุดสักการะในนั้นเลย เพื่อเราจะได้ช่วยกันทำบุญ ทำนุบำรุงให้กับที่นั่นเลย) แค่เตรียมตัว กับใจไปให้พร้อมแ่ค่นั้นเอง ง่ายๆ จ่ะ

นอกจากพระหลักเมืองแล้ว ที่นั่นยังมีเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมืองอีก 5 องค์ด้วยกัน คือ
พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
เจ้าพ่อเจตคุต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม
เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร
หลังจากกราบไหว้เทพารักษ์ผู้พิทักษ์เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดินออกมาจะเจอพระประจำวันเกิดที่ให้ทุกคนมาเติมน้ำมันตะเกียงและขอพร อย่าลืมนะ เติมน้ำมันตะเกียงเพื่อให้ชีวิตเราสว่างไสวไม่มีวันดับจ่ะ เมื่อเสร็จแล้วเราก็ไม่ลืมทิ้งท้ายด้วยการเข้าไปยกพระขอพร การทำไม่ยาก แค่อธิฐานขอพรอะไรก็ได้และเสี่ยงทายว่าเราจะสำเร็จหรือไม่ การยกพระเค้าจะมีสิธีเขียนติดเอาไว้จ่ะ จะให้ยก 2 ครั้ง ครั้งแรกถ้าสิ่งที่เราขอจะสำเร็จขอให้ยกขึ้น ครั้งที่ 2 ถ้าสำเร็จขอให้ยกไม่ขึ้น ไปลองกันดูนะจ๊ะ พี่ดวงเฮงลองมาทุกๆที่ ก็ยังคิดไม่ตก ว่าครั้งที่ 2 ทำไมเรายกไม่ขึ้น ทั้งๆที่เคยลองขนาดว่า ยกจนตัวเราลุกขึ้นแทนเลย (แต่บางครั้งก็ขึ้นง่ายๆ เหมือนกันนะ T__T)
ด้านหน้าตรงประตูทางเข้า-ออก จะมีลิเก เล่นอยู่ พี่ดวงเฮงชอบไปดูมากๆ เพราะว่าส่วนใหญ่จะตลก ว้าา…วันนี้พี่ดวงเฮงพามาเที่ยวก็จบซะแล้ว แต่ขอฝากข้อคิดไว้นิดนึงนะจ๊ะ ว่าไม่ว่าจะเป็น ดวง โชค ลาภ วาสนา ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับผลบุญและกรรม ที่เราทำด้วยนะจ๊ะ อย่ามัวแต่ขอให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยอย่างเดียว ขอให้ทุกๆ คนตั้งใจทำความดี ตั้งใจทำงาน สร้างผลบุญให้ตัวเองด้วยล่ะ อันนี้นะ ทำแล้วได้เลย ชัวร์….

ที่ตั้งและการเดินทาง
ไปไม่ยากเลย ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่  หัวมุมสนามหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง ถนน หลักเมือง แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

การเดินทางโดยรถประจำทางต้องขึ้นสาย 1,3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 47, 53, 64, 80, 82, 91, 201, 203

รถปรับอากาศสาย ปอ.501, 503, 508, 512

เปิดให้คนสักการะทุกวัน 05.30 – 19.30 น.

ไหนๆ ก็ไหนๆ พี่ดวงเฮง เลยไปค้นหาประวัติและสิ่งที่น่าสนใจมาให้อ่านกันก่อนจะเดินทางไปไหว้พระหลักเมืองกันนะ

ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕

ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

ตำนาน อิน จัน มั่น คง
มีเรื่องเล่าสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ว่าในพิธีสร้างพระนคร ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และ พิธีฝังเสาหลักเมือง การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องเรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน-จัน-มั่น-คง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองผู้เคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมทั้งเป็น ทั้ง ๔ คน เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องเล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก วิกิพีเดีย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น