สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Horoguide.com วันนี้พี่ดวงเฮง นำบทความน่าสนใจมานำเสนออีกแล้ว ชื่อว่า งานนวราตรี ที่จะมีขึ้นทุกปีในช่วงออกเจ ณ วัดแขกสีลม พี่ดวงเฮงเลยไปค้นข้อมูล ถามผู้รู้ที่มีประสบการณ์ไปร่วมทุกปี และจากอินเทอร์เน็ต ได้มาเพียบ ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่า เทศกาลงาน ” นวราตรี ” คืออะไร

นวราตรี: พลังอำนาจแห่งอิสตรี 

เทพเจ้าในศาสนาฮินดูมีอยู่เกินคณานับ คัมภีร์ปุราณะต่างฉบับอธิบายความเป็นมา
และความสัมพันธ์แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลัทธินิกายต่างๆ มายมาย
ตามเทพเจ้าที่นับถือ นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ไวษณพนิกาย บูชาพระวิษณุ
หรือพระนารายณ์เป็นหลัก ไศวะนิกาย บูชาพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นมหาเทพ
และนิกายศักติ ซึ่งยึดถือศักติ คือพระอุมา-ชายาพระศิวะ
และเทพนารีทั้งปวงเป็นสรณะ

ณ แดนภารตะ การจัดงานนวราตรีมีหลายรูปแบบ

กอปรด้วยรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันตามภูมิสถาน
บางแห่งรู้จักกันในชื่อเทศกาลดูเซร่า (Dussehra-ทศหรา?)
หลายพื้นที่ในอินเดียภาคเหนือมักถือเทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง
วาระยิ่งใหญ่ที่พระรามได้ชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์
จึงมีการทำหุ่นขนาดใหญ่ของทศกัณฐ์พร้อมกุมภกรรณ
(Kumbhakarna) น้องชาย และเมฆนาถ
(Meghnadh - รณพักตร์หรืออินทรชิตในพากย์ไทย) ขึ้นมา
ก่อนเผาไฟในวันที่สิบของเทศกาล เรียกชื่องานช่วงนี้ว่า “ทศหรา”๓
หรือวัน (พระราม) ชนะทศกัณฐ์
ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์
ไม่มีประเพณีดังกล่าว เพราะเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์เฉลิมฉลองสิ่งอื่นแทน
เช่นเทศกาลปงกัลของสังคมชาวนา หรือทุรคาบูชา เทศกาลเฉลิมฉลอง
การปราบมหิษาสูรของพระแม่ทุรคา ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อย
แห่งการเฉลิมฉลองต่างไปตามแต่ละถิ่น
หลายแห่งในรัฐทมิฬนาฑู อินเดียใต้กำหนดจัดงานนวราตรีเก้าวันเก้าคืน
โดยแบ่งเป็นการบูชาเทพนารีสามองค์ คือ
พระลักษมี พระสรัสวดี และพระอุมาเทวี องค์ละสามคืนไล่เรียงกันไป 

อิทธิพลของเทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย
ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพ
เพื่อประทานพรแก่ชาวโลก
จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน คือ
1-คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา 

2-คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด 

3-คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง 

4-คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ
(บ้างว่าเป็นปางทุรคา)

5-คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ 

6-คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร) 

7-คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร 

8-คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ
ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ 

9-คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ

ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม ในช่วงนวราตรีเดือนสิบเอ็ดนั้น
นอกจากงานบูชาในแต่ละคืนแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอย
คือขบวนแห่เทพเจ้าในคืนที่สุดท้าย ขบวนแห่จะเริ่มเคลื่อนไปตามท้องถนน
ตั้งแต่ราวหนึ่งทุ่ม โดยมีพราหมณ์ประทับทรงพระแม่อุมาทูนหม้อกลศัม
บรรจุทราย น้ำ เหรียญ และเครื่องบูชา นำขบวนแห่ออกไปยังท้องถนน
ในย่านใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้บูชา
และเทพเจ้ารับของเซ่นไหว้จากโต๊ะบูชา 

นอกจากนี้ยังมีร่างทรงเจ้าแม่กาลี ขันทกุมาร และขบวนราชรถ
เมื่อร่างทรงแห่ผ่าน ผู้ศรัทธาจะทุ่มมะพร้าวลงพื้น
บ้างว่าเพื่อชำระล้างให้พื้นธรณีเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์
บ้างก็ว่ามะพร้าวนี้แทนหัวกะโหลกที่นำมาเซ่นสังเวยพระแม่

……………………………………………

ขอเชิญร่วมงานแห่ประจำปี 2554 วัดพระศรีมหาอุมาเทวี

เนื่องในวันวิชัยทัสสมิ (Vijaya Dasmi)

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2554

กำหนดการ

งานแห่ประจำปี วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เนื่องในวันวิชัยทัสสมิ (Vijaya Dasmi)
ขบวนแห่ออกจากเทวสถานวัดพระศรีมหาอุมาเทวี เวลา 19.30 น.

……………………………………

บทความ : พี่ดวงเฮง

ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.srichinda.com / http://www.hindumeeting.com

ขอขอบคุณรูปภาพ: จากอินเทอร์เน็ต

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น