พอถึงเดือน 11 พ.ศ.2310 หลังสิ้นฤดูมรสุมแล้ว เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเพื่อมากอบกู้เอกราช ระหว่างทางได้หยุดชำระความพระยาอนุราฐบุรีที่เมืองชลบุรี ซึ่งประพฤติตัวเยี่ยงโจรเข้าตีปล้นเรือลูกค้า ชำระได้ความเป็นสัตย์จริง จึงให้ประหารชีวิตพระยาอนุราฐบุรีเสีย แล้วยกทัพเรือเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12

กองทัพเรือภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าตากได้เข้าโจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก มีนายทองอินคนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองอยู่ พอนายทองอินทราบข่าวว่าเจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ก็ให้คนรีบขึ้นไปบอกข่าวแก่สุกี้พระนายกองแม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเรียกระดมพลขึ้นรักษาป้อมวิชเยนทร์ และหน้าแท่นเชิงเทิน

ครั้นกองทัพเรือเจ้าตากเดินทางมาถึง รี้พลที่รักษาเมืองธนบุรี กลับไม่มีใจสู้รบเพราะเห็นเป็นคนไทยด้วยกันเอง ดังนั้นกองทัพเรือของเจ้าตากเข้ารบพุ่งเพียงเล็กน้อยก็สามารถตีเมืองธนบุรี ได้ เจ้าตากให้ประหารชีวิตนายทองอินเสียแล้วเร่งยกกองทัพเรือไปตีกรุงศรีอยุธยา

สุกี้แม่ทัพพม่าได้ข่าวเจ้าตากตีเมืองธนบุรีได้แล้ว ก็ส่งมองญ่านายทัพรองคุมพลซึ่งเป็นมอญและไทยยกกองทัพเรือไปสกัดกองทัพเรือ เจ้าตากอยู่ที่เพนียด เจ้าตากยกกองทัพเรือขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาค่ำสืบทราบว่ามีกองทัพ ข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด ฝ่ายพวกคนไทยที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่ารู้ว่ากองทัพเรือที่ยกมานั้นเป็นคน ไทยด้วยกัน ก็คิดจะหลบหนีบ้าง จะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้างมองญ่าเห็นพวกคนไทยไม่เป็นอันจะต่อสู้เกรง ว่าจะพากันกบฏขึ้น จึงรีบหนีกลับไปค่ายโพธิ์สามต้นในคืนนั้น

เจ้าตากทราบจากพวกคนไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วยว่า พม่าถอยหนีจากเพนียดหมดแล้ว ก็รีบยกกองทัพขึ้นไป ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น 2 ค่าย พร้อมกันในตอนเช้า สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ สุกี้ตายในที่รบ จึงถือว่า เจ้าตากได้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้แล้ว หลังจากที่ไทยต้องสูญเสียเอกราชในครั้งนี้เพียง 7 เดือน

ภายหลังที่พระเจ้าตากมีชัยชนะกับพม่าแล้ว ทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาติบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากพม่า จิตใจของประชาราษฎรยังระส่ำระสาย ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกเผาผลาญทำลายปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเศร้าโศกสะเทือนใจจนยากที่จะหาสิ่งใดมาลบล้างความ รู้สึกสลดหดหู่นั้นได้ บ้านเมืองยังต้องการความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติจะต้องเรียกขวัญและ กำลังใจของประชาชนให้กลับคืน อยู่ในสภาพปกติโดยเร็วที่สุด ไหนจะต้องป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศที่คอยหาโอกาสจะเข้ารุกราน จึงต้องรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 5 ก๊ก คือ

  •     ก๊กที่ 1 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าที่เมืองพิษณุโลก
  •     ก๊กที่ 2 เจ้าพระฝาง (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ยังเป็นพระ
  •     ก๊กที่ 3 เจ้านคร (หนู) เดิมเป็นปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช
  •     ก๊กที่ 4 กรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย
  •     ก๊กที่ 5 คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี

ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องทรงกระทำโดย เร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น 2 ด้านคือ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง

ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่าได้มีกำลัง ใจดีขึ้น ดังนี้

1. การปราบปรามก๊กต่าง ๆ

  • พ.ศ.2311 ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี
  • พ.ศ.2312 ยกทัพบกและทัพเรือไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ เมืองตานี และไทรบุรี ขอยอมเข้ารวมเป็นขัณฑสีมาด้วยกัน
  • พ.ศ.2313 ยกกองทัพไปตีเมืองสวางคบุรี ขณะที่เจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้วจึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระฝางฝ่าแนวล้อมหนีรอดไปได้

2. การทำสงครามกับพม่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำศึกกับพม่า ถึง 9 ครั้ง แต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ทางด้านยุทธศาสตร์อย่างดี เยี่ยม พร้อมด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว การทำสงครามกับพม่าดังกล่าว ได้แก่

  • สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310
  • สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313
  • สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 – 2314
  • สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315
  • สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316
  • สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317
  • สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317
  • สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318
  • สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319

สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป

3. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์
พ.ศ.2321 พระเจ้านครหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักร ส่วนนครเวียงจันทน์ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่ พ.ศ.2317 ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเดินทัพเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อกำจัดพระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจึงโปรดให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้ เมื่อ พ.ศ.2322 โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง เมื่อเสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรีด้วย

4. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา

พ.ศ.2312 ทรงโปรดให้ยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา เนื่องจากเจ้าเมืองกัมพูชาไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบอง

พ.ศ. 2314 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้สำเร็จ สาเหตุจากขณะไทยทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์กรุงกัมพูชาได้ถือโอกาสมาตีเมืองตราด และเมือง จันทบุรี เมื่อตีกัมพูชาได้แล้วทรงมอบให้นักองค์นนท์ปกครองต่อไป

พ.ศ.2323 กัมพูชาเกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จึงเหลือนักองค์เอง ที่มีพระชนม์เพียง 4 พรรษา ปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน และเอาใจออกห่างฝักใฝ่ญวน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสองค์ ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทัพไทยตีเมืองรายทางได้จนถึงเมืองบัณฑายเพชร พอดีกับกรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเลิกทัพกลับ

อาณาเขตกรุงธนบุรีได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้

  • ทิศเหนือ   ตลอดอาณาจักรลานนา
  • ทิศใต้     ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
  • ทิศตะวันออก     ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ     ตลอดนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก
  • ทิศตะวันออกเฉียงใต้     ตลอดเมืองพุทธไธมาศ
  • ทิศตะวันตก     ตลอดเมืองมะริด และตะนาวศรีออกมหาสมุทรอินเดีย

พระ เจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524

ขอบคุณข้อมูลจาก www.watchoengthar.com


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

ด้านการศึกสงคราม ขณะ ที่พระยาตากได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่ก็ยังมิได้ไปครองเมืองกำแพงเพชร เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกในการป้องกันพระนคร

เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) เล็งเห็นว่าถึงแม้จะอยู่ช่วยรักษาพระนครต่อไป ก็คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด พม่าก็ตั้งล้อมพระนครกระชั้นเข้ามาทุกขณะจนถึงคูพระนครแล้ว กรุงศรีอยุธยาคงไม่พ้นเงื้อมมือพม่าเป็นแน่แท้ ไพร่ฟ้าข้าทหารในพระนครก็อิดโรยลงมาก เนื่องจากขัดสนเสบียงอาหาร ทหารไม่มีกำลังใจจะสู้รบ ดังนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยอาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี และพรรคพวก รวม 500 คน ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าพม่าไปทางทิศตะวันออก เวลาค่ำในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2309 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น