เตรียมตัวไปงาน นวราตรี กันเถอะ

วันนี้บริเวณถนนสีสมจะมีการแห่พระแม่อุมาเนื่องในการเฉลิมฉลองวัน นวราตรี ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองตลอด 9 คืนต่อจากนี้  มาดูกันจ้าว่าจะมีกิจกรรมอะไรกันบ้างในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์มีอยู่ตอนหนึ่ง ท่านได้กล่าวถึงเรื่องปัญญาไว้น่าสนใจเป็นอย่างมาก มีการบันทึกไว้ว่า “ปัญญานั้นได้มาจากการรู้แจ้งจริงๆ เกี่ยวกับคำสอนโบราณ ไม่ใช่ได้มาการการอ่านคัมภีร์เท่านั้นหรอก พวกเธอควรแก้ไขปัญหาทั้งปวงโดยการทำสมาธิ พวกเธออย่าไปพึ่งความคิดหรือวิธีคิดอันไร้สาระ แต่จงพยายามแก้ปัญหาโดยการติดต่อทางจิตวิญญาณกับพระเป็นเจ้าผ่านสมาธิดีกว่า พวกเธอจงขจัดล้างคราบไคลแห่งความเคร่งครัดให้หมดพ้นจากใจเธอ แล้วจงหัดมาตักตวงน้ำทิพย์ที่เรียกว่า ญาณทัศนะ หรือสัมผัสที่หกแทน เพราะถ้าเธอสามารถปรับจิตของเธอให้สอดคล้องกับอาตมันที่เป็นผู้นำทางภายในตัวเธอได้แล้ว เธอจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องในทุกๆปัญหาชีวิตที่เธอเผชิญ…… มนุษย์นี้ช่างเป็นอัจฉริยะในการสร้างปัญหาที่เป็นทุกข์ให้แก่ตัวเองอย่างไม่รู้จักเบื่อเลย แต่พระผู้เป็นเจ้าท่านก็เป็นผู้ที่ช่วยเหลืออย่างไร้ขอบเขตจำกัดโดยไม่รู้จักเบื่อเช่นกัน”
เมื่อประมาณอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ขับรถไปแถววัดแขกสีลม แต่ไม่ได้แวะลงไปกราบไหว้บูชา เพียงยกมือไหว้ไปเฉยๆ ในใจก็บอกไปว่า นมัสการครับองค์แม่ เพียงแว็บเดียวก็มีเสียงที่เราคุ้นเคยแต่ห่างหายจากเราไปนานมาก เสียงดังขึ้นมาว่า “ลืมแม่ไปแล้วหรือ” อุ้ย เสียงองค์แม่นี้หว่า ในใจผมขณะนั้นได้เพียงแต่นึกในใจว่า เออ…. เรานี้ขาดการติดต่อองค์แม่มานานเหมือนกัน ตั้งแต่สุขสบายขึ้น เรานี้แย่จังเลย เห็นที่ต้องทำอะไรเพื่อองค์แม่คงจะดี (ในใจตอนนั้นรู้สึกผิดมาก) นี้เราลืมแม่พระของเราไปเลยหรือ มัวแต่ไปมัวเมาในวัตถุอื่นๆ ลืมจิตที่บริสุทธิ์ จิตที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความเมตตา ความสงสาร ที่มีต่อลูกของพระองค์ เราแย่จริง ๆ ครั้นพอคิดได้เลย คิดว่าจะหาข้อมูลเกี่ยวกับพระแม่มาให้เพื่อนและลูกขององค์แม่ได้รับรู้ถึงเกียรติและการเสียสละขององค์แม่ให้ลูกได้รับรู้กัน วันนี้ เลยยกเรื่องราวที่พระแม่อุมาทรงอวตารมาเป็น พระแม่ทรุคา(นางกาตยายนี) พระมาตาทุรคา เป็นอวตารหนึ่งที่ทรงต่อสู้กับความโง่เขลา หรืออสูรควายนั้นเอง ในพิธีกรรมต่างๆในประเทศอินเดีย มักจะบูชาพระแม่อุมาในปางทุรคา(ดูรกา)กันมากในทุกแคว้น และพระแม่ทุรคาก็ทรงมีมากถึง 9 ปางด้วยกันหรือเป็นที่มาของกระทู้ อสูร 9 วันนี้นั้นเอง

ปางที่ 1 พระนางทุรคาปางนิลกันตรี ทรงมี 4 กร ทรงถือตรีศูล โล่ห์ และภาชนะ พระหัตถ์ที่ 4 ทรงแสดงประทานพร ปางนี้เป็นปางที่ประทานความสุขและความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้สักการะบูชาต่อพระองค์

ปางที่ 2 พระนางทุรคาปางเกศมันคารี ทรงมี 4 กร ทรงถือดอกบัว ตรีศูล ภาชนะ และพระหัตถ์สุดท้ายทรงประทานพร เพื่อให้มีสุขภาพดีแรงแรง พร้อมไปด้วยปัญญา ให้แก่ผู้ที่บูชาต่อพระองค์

ปางที่ 3 พระนางทุรคาปางหรสิทธิ ทรงมี 4 กร ทรงถือกลอง (บันเดาะห์) คนโท ดาบ และภาชนะ ปางนี้เป็นปางที่ทรงประทานความสำเร็จและความปรารถนาสำหรับผู้สวดอ้อนวอนต่อพระองค์

ปางที่ 4 พระนางทรุคาปางรุทรัมศทุรคา ทรงมี 4 กร ทรงถือตรีศูล ดาบ สังข์ และจักร และทรงสวมอาภรณ์อย่างกษัตริย์ มีรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์กระนาบข้าง เบื้องหน้าเป็นสิงห์โตที่เป็นพาหนะ หมอบอยู่ ปางนี้ เป็นปางที่ประทานชัยชนะอย่างสมบูรณ์ที่สุดสำหรับผู้ที่บูชาต่อพระองค์

ปางที่ 5 พระนางทุรคาปางวนทุรคา ทรงมี 8 กร ทรงถือจักร สังข์ ดาบ โลห์ ลูกศร คันศร ตรีศูล และพระหัตถ์สุดท้าย ชี้นิ้วไปข้างหน้า ปางนี้เป็นปางถึงการขจัดอุปสรรคทั้งปวงต่อผู้ที่บูชาพระองค์

ปางที่ 6 พระนางทุรคาปางอัคนีทุรคา ทรงมี 8 กร ทรงถือจักร ดาบ โลห์ ลูกศร บ่วงบาศก์ และชี้นิ้วขึ้นที่สูง มีรูปสิงห์โตหมอบอยู่เบื้องพระบาท และมีเทวีอีก 2 นาง ยืนซ้าย ขวา นางหนึ่งถือดาบ อีกนางหนึ่งถือโลห์ ปางนี้ เป็นปางที่ทรงประทานความยิ่งใหญ่ เกียรติยศและชื่อเสียงกว่าผู้ใด สำหรับผู้ที่บูชาพระองค์

ปางที่ 7 พระนางทุคาปางชัยทุรคา ทรงมี 4 กร ทรงถือสังข์ จักร ดาบ ตรีศูล ทรงมี พระเนตรอีก 1 กลางหน้าผากของพระนาง และมีสิงโตยืนอยู่ข้างหน้าพระองค์ ปางนี้เป็นปางที่มีชัยชนะต่ออวิชาทั้งหลาย ผู้ที่บูชาจะสามารถหลุดพ้นได้ง่ายถ้าบูชาพระนาง

ปางที่ 8 พระนางทุรคาปางวิทยาวาศรีทุรคา ทรงมี 4 กร ทรงถือจักร สังข์ และอีก 2 กรแสดงประทานพร และประทานอภัย มีรูปทวยเทพองค์อื่นรายล้อมรอบพระองค์ โดยมีสิงโตหมอบอยู่ข้างหน้า

ปางที่ 9 พระนางทุรคาปางริปูมารีทุรคา ปางนี้ มีเพียง 2 กร ทรงถือตรีศูล และอีกกร ทรงชี้นิ้วขึ้นบนฟ้า ปางนี้เป็นปางที่ทรงประทานพร ให้โชคดี มีความปลอดภัย ไม่มีศัตรูมาเบียดเบียน

ในด้านพิธีกรรมในการบูชาพระแม่มหิษาสุรมรรทินี จะมีพิธีบูชาอยู่ 9 วันเช่นเดียวกัน เรียกกันว่า พิธีเทศกาลดุซเซร่าห์ (เทศกาลทุรคาบูชา)

วันแรกของงานเทศกาล ทุรคาบูชาหรือ ดุซเซร่าห์ ชาวฮินดูจะบูชา “พระนางมหากาลี”

วันที่สอง จะบูชาพระแม่ทุรคา ผู้ที่ฆ่าจอมอสูรควาย จึงมีการขนานนามว่า “มหิษาสุรมรรทินี”

วันที่สาม จะบูชาพระแม่ “จามุนดา” ซึ่งมีกำเนิดความเป็นมาจากการฆ่ายักษ์สองพี่น้องที่ชื่อว่า “จันทรและ มนดา”
วันที่สี่ จะบูชาพระแม่ที่เรียกกันว่า “กาลี”ซึ่งเป็นผู้ฆ่าอสูรโดยการดื่มเลือดทั้งหมดของอสูร
วันที่ห้า จะบูชาพระแม่ที่มีชื่อว่า “นันทา”ซึ่งเป็นลูกสาวของคนเลี้ยงสัตว์

วันที่หก จะบูชาพระแม่ที่มีชื่อว่า “รักธาฮันตี” ซึ่งปางนี้ทรงฆ่าอสูรโดยการใช้ฟันกัดจนตาย
วันที่เจ็ด จะบูชาพระแม่ที่มีชื่อว่า “สักกัมทารี”
วันที่แปดจะบูชาพระแม่ที่ชื่อว่า “ทุรคา”ซึ่งจะซ้ำกับวันที่สอง เป็นการย้ำเตือนในการระลึกถึงการฆ่าอสูรควาย
วันที่เก้าจะบูชาพระแม่ที่มีชื่อว่า”ลัคภรมารี”ซึ่งปางนี้จะพระแม่ทรงฆ่าอสูรที่มีชื่อว่า”อรุณ” ในวันสุดท้ายนี้จะมีการเฉลิมฉลองโดยมีการแห่พระแม่ไปตามถนนต่างๆผู้คนจะแห่กันออกมาเฉลิมฉลองกัน โดยมีการร่วมรำทำเพลงมีขบวนแห่และบรรเลงดนตรีอย่างสนุกสนาน และสิ้นสุดโดยการแห่รูปปั้นพระแม่ทุรคาไปหรือสรงน้ำจุ่มในแม่น้ำที่ใกล้ที่สุดของเมืองนั้นๆ เพื่อเป็นการล้างบาปแก่ผู้ที่มาร่วมพิธีทั้งหมดด้วย

แถมท้ายด้วย วันในการบูชาพระแม่ทุรคามหาศักติ

วันอาทิตย์ ถวายด้วยปายส้ม/ปายัส (ข้าวสุก นม น้ำตาล)
วันจันทร์ ถวายด้วยนมสด
วันอังคาร ถวายด้วยผลไม้ต่างๆและกล้วย
วันพุธ ถวายด้วย เนยสด
วันพฤหัสบดี ถวายด้วยน้ำตาลและอ้อย
วันศุกร์ ถวายด้วยน้ำตาลและทรายขาว
วันเสาร์ ถวายด้วยน้ำมันเนยและน้ำเปรี้ยว

ส่วนมนตร์ในการบูชาพระแม่ทุรคา
โอม ชยันตี มงคลกาลี ภัทรันกาลี กปาลินี ทุรคา กัษมา ศิวา ธาตรี สวะธา นดม สตุเต
โอม อัมเพ อัมวิเก อัมพา ลิเกสมานัยติ ศัศจนัส สัตยัสวัก / สวะ ภัทธิกัม กาม บิลลวาสินี ทุรคาเย นมัช

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น