ศีล 8 นี้ผู้ที่ถือศีลนี้โดยมากจะเป็น อุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ที่ต้องการข้ดเกลาให้ยิ่งขึ้น เพราะศีล 8 นี้ไม่ได้กำหนดในการรักษา คือสามารถที่จะรักษาได้ทุกวัน แต่ศีล 8 มีข้่อยกเว้นอยู่ 8 ประการคือ

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี คือ เว้นจากการฆ่า เว้นจากการใช้ให้ฆ่าผู้อื่น
  2. อทินนาทานา เวรมณี คือ เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ คือ จากการขโมย
  3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี คือ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือการร่วมประเวณี
  4. มุสาวามา เวรมณี คือ เว้นจากการพูดเท็จ พูดอะไรที่ไม่ตรงกับความจริง
  5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี คือ เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาืท และเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหลาย
  6. วิกาลโภชนา เวรมณี คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล คือ เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว จะไม่มีการกินอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นสามารถที่จะดื่มน้ำได้เพียงอย่างเดียง
  7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี คือ เว้นจากการขับร้อง การฟ้อนรำ และดูการละเล่น เว้นเสียจากการประดับตกแต่งกายด้วยดอกไม้หอม
  8. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี เว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่สูง

จริง ๆ แล้วการถือศีล 5 และศีล 8 นั่น ก็ดีทั้งสิ้น แต่การถือศีล 5 และ ศีล 8 จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • คือในข้อที่ 3 ของศีล 5 ให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เฉพาะผู้ที่ไม่ใช่คู่ของตน แต่ในศีล 8 ห้ามโดยเด็ดขาดแม้ในคู่ครองของตนก็ตาม จึงจะชื่อว่า “พรหมจรรย์” คือการประพฤติอย่างพรหม
  • ในข้อที่ 6 ของศีล 8 ตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน จนถึงเช้าของวันใหม่ จะเรียกว่า วิกาล เป็นเวลาที่ต้องงดการบริโภคทุกอย่าง แต่สิ่งที่สามารถทานได้ก็มี คือ น้ำที่ทำจากมะม่วง 1 ลูก, ลูกหว้า 1 ลูก, กล้วย 1 ลูก, ลูกจันทน์ หรือองุ่น 1 ลูก, และมะปราง หรือลิ้นจี้ 1 ลูก
  • ในข้อที่ 7 ของศีล 8 ห้ามการร้องรำทำเพลง ทั้งให้ผู้อื่นเล่น และตัวเราเล่นเอง
  • ในข้อที่ 8 ของศีล 8 คือไม่ให้นั่งสูงจนเกินไป และที่นอนควรทำจากนุ่น หรือสำลี เพราะที่เป็นแบบนี้เพื่อไม่ให้เราหลงกับความสบายจนเกินไป

สรุปแล้ว การเว้นใน 3 ข้อหลังนั้น เป็นการขัดเกลาเพื่อความยินดี และไม่ให้ติดกับการบริโภคจนเกินประมาณ หรือการแต่งตัวก็ไม่ควรที่จะแต่งจนเกินไป ให้รู้จักกับความพอดีในการแต่งตัว เพื่อดูให้ว่าสวยงามแต่ไม่ถึงกับฉูดฉาด ส่วนในเรื่องการนั่ง หรือการนอน ท่านก็สอนไม่ให้เราติดกับความสบายจนเกินไป แต่สามารถที่จะสบายได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้นถ้า ผู้ที่ถือศีล 8 ทำผิดศีลในข้อที่ 6, 7 และ 8 ก็จะไม่มีโทษอะไรที่ร้ายแรงเหมือนการถือศีลในศีล5 หรือ ในข้อที่ 1 – 5 ของศีล 8

………………………………………………………
คลิกลิงค์เพื่อดูคลิปวีดิโอ

อานิสงส์ของการถือศีล 8 โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล 

……………………………………………………………

คำขอไตรสรณคมณ์ ศีล 8 และ ศีลอุโบสถ (พร้อมคำแปล) 

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ (อัฏฐัง คะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ) 

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอไตรสรณคมน์และศีลแปด (อุโบสถศีลทั้งแปดข้อ)

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ (อัฏฐัง คะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ)

แม้ครั้งที่สอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอไตรสรณคมน์และศีลแปด (อุโบสถศีลทั้งแปดข้อ)

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ (อัฏฐัง คะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ)

แม้ครั้งที่สาม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอไตรสรณคมน์และศีลแปด (อุโบสถศีลทั้งแปดข้อ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สองเข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการลัก, ฉ้อโกงของผู้อื่นและไม่ใช้ผู้อื่นลัก, ฉ้อโกง

อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการกระทำอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ (ละเว้นการเกี่ยวข้องกับกามคุณ)

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการพูดไม่จริง (พูดส่อเสียด, พูดหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, พูดนินทา)

สุราเมระยะมัชปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท (รวมทั้งยาเสพติดทุกชนิด)

วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล

นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสนา มาลาคันธะวิเลปะ นะธาระณะ มัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจาก การดู ฟัง ฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศลธรรม และทัดทรงตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ และดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผัดผิวทำกายให้งดงาม อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี

อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าจะละเว้นจากการนั่งนอนบนเตียง ตั่ง ม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง นอนใหญ่ ภายในใส่นุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงาม

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
(กล่าว 3 ครั้ง)

ข้าพเจ้าขอสมาทานศึกษาและปฏิบัติในสิกขาบททั้งแปดประการนี้
(จบพิธีรับศีลแปด)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น