ในที่สุดบุตรชายครึ่งนกของนางวินตาได้เข้าไปเจรจาขอแลกอิสรภาพจากนางกัทรุและเหล่านาคให้แก่มารดาของตน นางกัทรุจึงได้ขอแลกกับน้ำอมฤตเป็นการแลกกกับอิสระภาพของนางวินตา บุตรนางวินตาจึงบินไปหาน้ำอมฤตในทันที ในระหว่างทางก็ได้พบกับฤาษีกัสปะเทพบิดรผู้เป็นบิดา ซึ่งได้แนะนำให้บุตรนางวินตาบินไปยังทะเลสาปแห่งหนึ่งและจับกินเต่ายักษ์และช้างที่กำลังสู้กันเพื่อเพิ่มพลังในระหว่างการเดินทางไปหานําอมฤต บุตรนางวินตาจึงได้จับสัตว์ทั้งสองกินแล้วออกบินต่อไป พอมาถึงต้นไทรต้นหนึ่งก็ได้แวะลงไปเกาะที่กิ่งต้นไทร ต้นไทรนี้มีฤาษี 4ตนกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ พอบินลงมาเกาะจึงทำให้กิ่งต้นไทรหัก บุตรนางวินตาจึงจับกิ่งไม้นั้นไว้เพื่อไม่ให้ฤาษีทั้ง 4ตนตกลงไป ฤาษีทั้ง 4จึงเรียกบุตรนางวินตาว่า “ครุฑ” แปลว่า “ผู้แบก” หรือผู้ซึ่งยกของหนักได้ บุตรของนางวินตาจึงได้ชื่อว่า “พญาครุฑ” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อข่าวเรื่องพญาครุฑจะมาขโมยน้ำอมฤตรู้ถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงสั่งเพิ่มเหล่าบรรดากำลังทหารสวรรค์ให้เข้มแข็ง โดยชั้นนอกให้เหล่าเทวดาสวรรค์และทูตสวรรค์รักษาไว้ ให้หม้อน้ำอมฤตอยู่ตรงกลางกงจักรที่มีงูยักษ์ 2ตัวหมุนกงจักรและจุดไฟล้อมรอบเอาไว้เพื่อป้องกันและขัดขวาง เมื่อพญาครุฑเดินทางมาถึงก็ได้ต่อสู้กับบรรดาเหล่ากองทัพทหารสวรรค์อย่างดุเดือด และก็ใช้ปีกกระพือลมพัดเหล่าทหารเทวดาสวรรค์จนแตกพ่าย เหล่าบรรดาทหารสวรรค์ไม่สามารถต้านทานฤทธิ์เดชอํานาจของพญาครุฑได้จึงพ่ายแพ้และสูญสลายไปจนหมดสิ้น แล้วจึงบินพุ่งลงไปอมน้ำในมหาสมุทรมาพ่นดับไฟที่ลุกอยู่ล้อมรอบกงจักรนั้นเสีย และกินงูที่กำลังหมุนกงจักรอยู่นั้นอีกด้วย แล้วจึงเข้าชิงนำน้ำอมฤตกลับมาไถ่ตัวมารดา พระอินทร์จึงเข้าขัดขวางจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระอินทร์ใช้สายฟ้าฟาดเข้าที่บริเวณปีกของพญาครุฑเข้าอย่างจังแต่สายฟ้าของพระอินทร์มิอาจทําอันตรายต่อพญาครุฑได้เลย ในที่สุดพระอินทร์จึงยอมแพ้ต่อพญาครุฑ และพญาครุฑจึงได้มอบขนปีกให้กับพระอินทร์หนึ่งเส้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ และนับจากนั้นมาพญาครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ท้าวสุบรรณ”แปลว่า”ขนวิเศษ”

เรื่องราวการรบครั้งนั้นได้เลื่องลือล่วงรู้ไปถึงสามโลกธาตุ จนร้อนถึงพระนารายณ์ต้องลงมาช่วยปราบ จนเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ ต่อสู้กันจนฟ้าลั่นแผ่นดินสะเทือนแต่ทั้งพระพระนารายณ์และพญาครุฑต่างก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ทั้งสองจึงยุติศึกและทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยพญาครุฑสัญญาที่จะรับเป็นพาหนะให้กับพระนารายณ์ตลอดไปและเป็นธงครุฑพ่าห์สําหรับปักอยู่บนรถศึกของพระนารายณ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ได้ให้พรความเป็นอมตะแก่พญาครุฑและไม่มีใครทำลายได้ เสร็จแล้วพญาครุฑจึงได้นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวนางวินตาผู้เป็นมารดาในเวลาต่อมา

ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งกายทิพย์กายสิทธิ์คล้าย ชาวลับแล และ พวกพญานาค อยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่สามารถจะพบเห็นพญาครุฑได้นั้นต้องเคยมีบุญร่วมกับเขามา จึงจะสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ เหมือนกับผู้ที่สามารถติดต่อกับพญานาคได้เช่นกันล้วนต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาลทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่จะรู้กันได้ทั่วกันไปเช่นสามัญ

เรื่องของพญาครุฑเป็นเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์ โลดโผนมาก แต่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของพญาครุฑเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากเพราะทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งเลยทีเดียว แม้แต่ในไทยของเราเอง ทางไสยศาสตร์ก็ให้ความนับถือเกี่ยวกับครุฑนี้มาก ดูอย่างตราประจําแผ่นดินเองก็มีลักษณะเป็น ครุฑ จึงน่าสนใจว่า ครุฑ นั้นมีอานุภาพบางอย่างและน่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกมิติหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก  www.garudathailand.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

ในตํานานเมืองฟ้าป่าหิมพานต์นั้น มีเรื่องราวของสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากมายหลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ อันมีลําตัวเป็นสิงห์แต่มีศรีษะเป็นช้าง กินรี กินนร และสัตว์แปลกๆอีกมากมาย ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นมี 2อย่างที่นับว่าเป็นเทพ มีอิทธิฤทธิ์มากคือ พญาครุฑ จ้าวแห่งเวหา อีกหนึ่งคือ พญานาคราช จ้าวแห่งบาดาล

พญานาคนั้นมีวิมานอันเป็นทิพย์อยู่ในเมืองบาดาล ส่วนพญาครุฑนั้นก็มีวิมานฉิมพลีอยู่ที่เชิงเขาไกรลาสและได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีศาสตราวุธใดๆสามารถทําร้ายได้ แม้แต่สายฟ้าของพระอินทร์ กล่าวว่าองค์พญาครุฑนั้นมีนามว่า ท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ ซึ่งหมายถึง(ขนวิเศษ) มีกายเป็นรัศมีสีทอง มีเดชอํานาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลาย อาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและนําดอกไม้จากตันงิ้วเป็นอาหารทิพย์ ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทํามา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมามาก อํานาจจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบําเรอลูกครุฑตนนั้นๆและลูกครุฑตนดังกล่าวจะจําเจริญวัยได้อย่างรวด

(เพิ่มเติม…)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น