เล่าจื้อ ศาสดาลัทธิเต๋า

เหลาจื้อ (เล่าจื๊อ 老子)  แซ่ หลี่ ชื่อตัวว่า เอ่อร์ เป็นคนอำเภอขู่เสี้ยนรัฐฉู่ (ปัจจุบันคือเมืองลู่อี้ในมณฑลเหอหนาน) เล่ากันว่า เหล่าจื้อรูปร่างสูง  หูยาว  ตาโต หน้าผากกว้างและริมฝีปากหนา

เหลาจื้อเป็นศาสดาแห่งลัทธิเต๋าหรือศาสนาเต๋า

เรื่องราวของท่านส่วนใหญ่พบอยู่ในตำนาน ไม่มีบันทึกว่าเกิดเมื่อใด

แต่นักประวัติศาสตร์ของจีนซือหม่าเชียนเชื่อว่า เหลาจื้อคงมีชีวิตอยู่

ร่วมสมัยกับขงจื๊อ  ในสมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว (770 – 221

ก่อนคริสต์สักราช)  ในตำนานเล่าว่า เหลาจื้อเป็นปรมาจารย์ผู้เขียนตำรา

เต้าเต๋อจิง คัมภีร์ว่าด้วยคุณธรรม (เต๋าเต็กเก็ง道德经 )  ที่โด่งดังของลัทธิเต๋า แต่ยังไม่มีใครบอกได้ชัดเจนว่าท่านเกิดเมื่อไรและอยู่จนถึงอายุเท่าไหร่

เหลาจื้อเป็นปราชญ์ร่วมยุคสมัยกับขงจื้อ  เคยรับราชการเป็นผู้ ดูแลห้องสมุดเก็บหนังสือของบ้านเมือง (เท่ากับห้องสมุดแห่งชาติ ) ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงกลายเป็นพหูสูตร มีความรู้ลึกซึ้งและกว้าง ขวาง ได้รับความเคารพและเลื่อมใสศรัทธาจากคนทั่วไป

เหลาจื้อมักจะเผยแพร่ความรู้แก่ผู้คนไปทุกหนทุกแห่ง สรรเสริญคุณงามความดีของราชวงศ์โจว ความคิดของท่านกว้าง ขวางและลึกซึ้งมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งขงจื้อเดินทางไปพบสนทนากับ เหลาจื้อ เพื่อขอเรียนรู้ประเพณีและมารยาทของราชวงศ์โจว

เหลาจื้อเห็นราชวงศ์เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จึงได้ลาออกจาก ราชการและขี่วัวสีดำเดินทางออกจากเมืองหลวงมุ่งหน้าทางทิศตะวันตก ขณะผ่านด่านหานกู่กวาน หยินสี่หัวหน้าด่านหานกู่กวานพอรู้ว่า เหลาจื่อจะผ่านมาก็แอบไปพบและขอให้เหลาจื้อเขียนหนังสือให้เป็นที่ระลึก  ท่านจึงเขียนหนังสือไว้ 5,000 ตัวอักษร แล้วขี่วัวสีดำมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกต่ออย่างไร้ร่องรอย มีบางคน บอกว่า ท่านมีอายุถึง60ปี   แต่ก็มีบางคนบอกว่า  ท่านมีอายุนานกว่า200ปี

ส่วนหนังสือที่มี5,000ตัวอักษรเล่มนี้ก็คือคัมภีร์ “เหลาจื้อ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” (เต๋าเต็กเก็ง) ซึ่งเป็นผลงานอันลือเลื่องและได้รับการยกย่องทั่วโลก นักปราชญ์ใน รุ่นหลังได้แบ่งเต๋าเต็กเก็งออกเป็น 81 บท
เหลาจื้อเป็นนักคิดวัตถุนิยมที่เรียบง่าย ตามความหมายของศัพท์ “เต๋า”มักแปลว่า“หนทาง”หรือ”วิถี”แต่ยากที่จะอธิบายความหมายของ ”เต๋า”ได้ ดังที่บทที่ 1 ของคัมภีร์เต้าเต๋อจิงกล่าวว่า “เต๋าที่อธิบายได้ มิใช่เต๋าที่อมตะ” ปราชญ์ลัทธิเต๋าพยายามเสนอวิถีทางที่จะนำไปสู่ สังคมสันติภาพ โดยเชื่อว่า เต๋านั้นยิ่งใหญ่ครอบคลุมคุณธรรม เมตตาธรรม ความชอบธรรม เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุด และเป็นแหล่งเกิดสรรพสิ่งต่างๆ  หนังสือ “เต้าเต๋อจิง”ให้ความเห็นว่า สรรพสิ่งต่างๆไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากต้องอาศัยซึ่งกันและ กันและมีความสัมพันธ์กัน

เหลาจื้อยังได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ในหนังสือ“เต้าเต๋อจิง”ว่า สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กันโดยพึ่งพิงซึ่งกันและกันและก็ขัดแย้งกัน  อาจกล่าวได้ว่า  เป็นความสัมพันธ์ในเชิงวิภาษวิธี อย่างเช่นคำกล่าวที่ว่า “โชคดี”กับ”โชคร้าย”สามารถเปลี่ยนพลิกไปมาระหว่างกันได้ “โชคดี”มีอยู่ใน“โชคร้าย” “โชคร้าย” แฝงอยู่ใน“โชคดี” หรือคำพูดที่เป็นสัจจะไม่ถูกหู  คำพูดที่ไพเราะไม่ชอบด้วยสัจจะ”ฯลฯ  เหล่าจื่อกล่าวว่า เมล็ดพืชเล็กๆเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่โตได้ ดินที่สลายนั้นสามารถนำ ไปทำเป็นเนินสูงได้ คนเราถ้าไม่กลัวความยากลำบาก ถ้าเริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยก็สามารถขจัดอุปสรรคและบรรลุภารกิจที่ยิ่งใหญ่ได้

คนรุ่นหลังยกย่องให้เหลาจื้อเป็นปฐมาจารย์แห่งลัทธิเต๋า แนวคิดด้านปรัชญาของเหลาจื้อมีฐานะสำคัญในประวัติปรัชญาของจีน  ส่วนความคิดทางการเมืองของเหลาจื้อเช่น“การปกครองประเทศ ใหญ่ก็เหมือนต้มปลาในหม้อ ถ้ากวนน้ำมากก็จะเสียหายมาก”นั้นก็มี อิทธิพลต่อนักคิดก้าวหน้าและนักการปฏิรูปสังคมเพ้อฝันในยุคต่อมา
คัมภีร“เต้าเต๋อจิง”มีอิทธิพลมากในทั่วโลกโดยมีฉบับแปลเป็น ภาษาต่างประเทศมากกว่า 250 สำนวน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น