” นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” หรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตมากมาย ดังในหลักฐานจารึก ปรากฎหลักฐานเริ่มขึ้นในสมัย พญามังรายกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว เชื้อสายปู่เจ้า ลาวจก ได้ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เมืองเงินยางเชียงแสนพระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ และได้ทรง

ขยายอำนาจลงไปทางใต้ โดยได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นศูนย์กลางของการ รวบรวมเมืองเล็กๆในแถบลุ่มน้ำกก และตั้งแคว้นขึ้น ชื่อว่า แคว้นโยน หรือโยนก จากนั้น พระองค์ทรงขยายอำนาจเข้าสู่ลุ่มน้ำปิง เพื่อยึดครองแคว้น หริภูญไชย พระองค์ทรงใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงสามารถตี แคว้นหริภุญไชยได้ต่อมาพระองค์ทรงผนวก
หริภูญไชยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนก กลายมาเป็น อาณาจักรล้านนา ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ต่อมาในปีพุทธศักราช 1837 พญามังรายได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางเหนือ ของแคว้นหริภุญไชย แต่บริเวณดังกล่าวเกิด น้ำท่วมบ่อยครั้ง (เวียงกุมกามในปัจจุบัน)พระองค์จึงตั้งเมืองแห่งใหม่ และที่เหมาะสมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นบริเวณที่สะดวกในการทำการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ และยังง่ายต่อการควบคุมหัวเมืองต่างๆ

ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายได้เชิญพระสหาย คือ พญางำเมือง และ พญาร่วง ( พ่อขุนรามคำแหง)มาหารือเรื่องการวางผังสร้างเมืองและทั้งสามพระองค์
ก็ได้ร่วมสถาปนาเมืองแห่งนี้ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

พญามังรายได้พัฒนาทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฎหมายที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” รวมถึงรับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร
ซึ่งทำให้พระภิกษุในล้านนาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่9อาณาจักรของล้านนาได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง พร้อมกับได้ผูกสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้เอง ที่ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

อาณาจักรลานนาเริ่มเสื่อมลงในปลายสมัยพญาเมืองแก้ว เนื่องจากทำสงครามกับเชียงตุงพ่ายแพ้และเสียชีวิตไพร่พล เป็นอันมาก ประกอบกับอุทกภัย กระทบถึงความมั่นคงของ อาณาจักรเมืองในการปกครองเริ่มตีตัวออกห่าง ในปี พ.ศ.2101 ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15 พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพียงสามวันก็เสียเมือง และกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ยกทัพขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้ง พระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละได้ทรงพื้นฟูเมืองเชียงใหม่ จนมีอาณาเขต กว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ขณะเดียวกันก็จัดส่งบรรณาการ ส่วยสิ่งของและอื่นๆ ให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งยังมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองและขุนนางระดับ

ล่วงมาถึงสมัยราชการที่5 เมื่ออิทธิพลตะวันตกแผ่เข้ามาในเมืองไทย มีการปฏิรูปการปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ากับมณฑลพายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับสมัยของ เจ้าอินทวิชยานนท์ และราชการที่5ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา เจ้าดารารัศมีเป็น ผู้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ตัวเมืองเชียงใหม่ ขยายตัวยิ่งขึ้นและใกล้ชิดกรุงเทพฯ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศภิบาลถูกยกเลิก เชียงใหม่มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย หลังจากนั้น เชียงใหม่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นจังหวัดใหญ่ที่สำคัญรองลงมาจากกรุงเทพฯ ในสมัยนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก www.chiangmai-guideline.com

 

 

 


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น