ทุรคา กาลี นวราตรี อุมา 9 ปาง

วันนี้พี่ดวงดีขอนำเอาเรื่องราวของพระแม่อุมาทั้ง 9 ปางมให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะจ๊ะ  ใครที่กำลังท้อแท้ หรือ ท้อถอย หมดกำลังใจ ลองสวดมนต์สรรเสริญองค์พระแม่อุมา และขอพลังแห่งพระองค์จงมาสู่เรา ให้เราเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้จ้า   นวราตรี หรือ ดูเซร่า คือเทศกาลสำคัญของศาสนิกชนชาวฮินดูที่จะร่วมกันบูชาพระแม่อุมาเทวี ในปางต่างๆทั้ง 9 ปางอย่างยิ่งใหญ่เป็นระยะเวลา 9 วัน 9คืน

   

   คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา

   

   shail แปลว่าภูเขา putri แปลว่าบุตรสาว พระแม่ไชยปุตรีก็คือพระแม่ดุรกาเทวีปางที่หนึ่ง พระองค์คือธิดาของพญาทักษะ พระนามเดิมของพระแม่ไชยปุตรีก่อนที่จะแต่งงานกับพระศิวะ คือพระแม่สตี-บาวานี ที่พระนามของพระองค์ก็คือพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่หญิงม่ายชาวอินเดียจะ ต้องกระโดดเข้ากองไฟฆ่าตัวตายตามสามีไป ถ้าสามีได้เสียชีวิตลงก่อน แต่เดี๋ยวนี้พิธีสตีนี้ยกเลิกไปแล้ว เพราะว่าค่อนข้างต้องการความตั้งใจอันแรงกล้าถึงจะทำพิธีนี้

เรื่อง มีอยู่ว่า พญาทักษะท่านไม่ค่อยปลื้มพระศิวะที่เป็นลูกเขย เนื่องจากพระศิวะท่านไม่นิยมแต่งกายหรูหราเหมือนเทพองค์อื่น ๆ ท่านนิยมแต่งกายด้วยหางเสือเก่า ๆ แถมร่างกายก็ไม่สะอาดเพราะท่านชอบไปนั่งสมาธิในป่าช้าเป็นส่วนใหญ่ ท่านพ่อตาก็เลยไม่ปลื้ม มีอยู่วันหนึ่ง พญาทักษะก็จัดงานที่เรียกว่า พิธีอัศวเมธ ซึ่งก็คือการปล่อยม้าให้เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เป็นเวลา 1 ปี ถ้าเมืองไหนให้การต้อนรับม้านั้นก็ถือว่าเป็นมิตรกันต่อไป ถ้าไม่ก็ต้องมีการสู้รบ

พอ ครบ 1 ปี ม้าตัวนั้นก็จะถูกบูชายัญแล้วก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองกันใหญ่โต บุตรเขยของพญาทักษะได้รับเชิญทุกคนยกเว้นพระศิวะ พระแม่ไชลปุตรีก็โกรธและน้อยใจมาก จึงทำการประท้วงพ่อด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเผาตัวเองต่อหน้าพ่อ เท่ากับว่าไม่ยอมรับลูกสาวของตัวเองด้วย พระศิวะก็โกรธมากถึงกับส่งอสูรไปทำลายเมืองของพญาทักษะ หลังจากนั้นพระแม่ดุรกา ไชยปุตรีก็ได้มาเกิดใหม่เป็นธิดาของเจ้าผู้ครองนครหิมาลายานามว่าพระนางปรา วาตี – เหมวาตีก็ได้มาแต่งงานกับพระศิวะอีกครั้ง แต่กว่าจะได้แต่งต้องบำเพ็ญตบะอยู่นาน กว่าพระศิวะจะยอมรับพระองค์ เพราะพระศิวะยังไม่สามารถลืมพระแม่สตีได้

คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด

ปาง ที่สองแห่งพระแม่ดุรกานี้ พระแม่ทรงพระนามว่า “ พระแม่บรามาจาริณี “ พระแม่องค์นี้ได้รับพระนามมาจากพระพรหมด้วย คำว่า ‘บรามา’ แปลว่าพระพรหม และยังรวมถึงผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ รวมทั้งผู้ที่ทำการบำเพ็ญตบะด้วย พระแม่บรามาจาริณีนี้ยังทรงถือประคำในมือขวา มือซ้ายทรงถือหม้อน้ำ kumbha พระพักตร์แย้มสรวลตลอดเวลาด้วยความสุข ผู้เปี่ยมด้วยความรักและความซื่อสัตย์ ผู้เต็มไปด้วยความรู้ และความสำเร็จ

ตำนาน กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระแม่ได้ถือกำเนิดเป็นพระแม่ปาราวตีเหมวัติบุตรีของท่านท้าว เหมวันและนางเมนกา ครั้งหนึ่งพระแม่ปาราวตีกำลังเล่นกับเพื่อน ๆ อยู่ ปรากฏว่าฤาษีนารททำนายว่า ‘ ฉันขอทายว่าเธอจะต้องแต่งงานกับโยคี หรือ ฤาษีท่านหนึ่งที่ไม่ค่อยนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับหรูหราใดๆ แต่โยคีท่านนี้ เคยใช้ชีวิตคู่อยู่กับเธอมาแล้วในชาติที่แล้วของเธอ แต่ในชาตินี้ เธอจะต้องทำการบำเพ็ญตบะเสียก่อน เธอถึงจะได้แต่งงานกับท่านอีกครั้งนะ’ซึ่งโยคีหรือ ฤาษีที่ฤาษีนารทได้ทำการทำนายก็คือ พระศิวะ

   พระ แม่บรามาจาริณีพอได้ฟังดังนั้นก็รีบไปบอกพระมารดา คือพระนางเมณกาว่า ‘ลูกจะไม่ขอแต่งงานกับใครอีกนอกจาก พระศิวะ ถ้าไม่เช่นนั้น พระนางก็จะไม่แต่งงานกับใครอีกเลย จนชั่วชีวิต’ หลังจากนั้นพระแม่บรามาจาริณีก็ได้เดินทางออกไปบำเพ็ญพรตเพื่อที่พระศิวะจะ ได้ยอมรับพระนางเป็นมเหสีอีกครั้ง พระแม่สตี ที่เคยทำการเผาตัวเองให้ตายไปเนื่องจากแค้นใจพระบิดาที่ไม่ให้เกียรติสามี ของพระองค์ พระนางได้กลับมาเกิดอีกครั้งแต่ก็ยังคงรักมั่นต่อพระศิวะไม่เสื่อมคลาย หลังจากนั้นก็ได้แต่งงานกัน ในปางนี้เองที่พระแม่บรามาจาริณีได้ถูกเรียกขานว่า ‘พระแม่อุมา’ จนเป็นพระนามที่ชาวโลกใช้เรียกขานพระองค์มาตลอดจนทุกวันนี้

   เรื่อง ราวของพระแม่ปาราวตีและการบำเพ็ญตบะของท่านนั้นร้อนแรงเสียจนครั้งหนึ่งได้ ทำลายอัตตาหรือความเห็นแก่ตัว ของพระอินทร์ลงอย่างราบคาบจนกระทั่งมีอยู่คราวหนึ่ง เหล่าองค์เทพทั้งหลาย รวมถึงองค์อวตารได้พากันค้อมคำนับแด่พระองค์พร้อมกล่าวว่า “พระแม่คือพลังแห่งศักติอันยิ่งใหญ่ ทั้งพระพรหม พระนารายณ์ และ พระศิวะเอง ล้วนแต่มีฤทธิ์เดชและพลังทั้งหลายล้วนเกิดจากการประสาทพรจากพระนางนั่นเอง

คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง

   ปาง ที่ 3 ของพระแม่ดุรกาเทวี ซึ่งก็คือ พระแม่”จันดรากานดา” เป็นอวตารปางที่สาม ทรงได้รับการบูชาในวันที่ 3 พระองค์มีสัญลักษณ์ให้สังเกตุง่าย ๆ ก็คือ จะทรงมีพระจันทร์เสี้ยวที่หน้าผาก พระองค์ทรงงดงามมาก และ มีเสน่ห์มาก ใครเห็นก็รัก พระฉวีสีทองอร่ามทั้งองค์ พระองค์มีดวงตา 3 ดวง มี 10 พระกร ทรงอาวุธครบทั้ง 10 มือ ที่เหลือทรงมุทรา แห่งการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และการหยุดสิ่งชั่วร้าย พระนาม chandra+ghanta หมายความถึงความสุข และความรู้สูงสุด แสดงถึงความสงบสุข ความร่มเย็น ดั่งแสงพระจันทร์ พระนางประทับนั่งบนหลังเสือชื่อ โสมนนทิ และ ที่สำคัญพร้อมที่จะออกรบและสู้ศึกเสมอ

   ใน ปางนี้พระแม่เป็นปางที่แสดงถึงความกล้าหาญสูงสุด ถ้าพระองค์เสด็จไปไหนจะมีเสียงระฆังนำไปก่อนเสมอ เสียงดังกังวานไปทั่ว เสียงระฆังนี้ว่ากันว่าจะดังกังวานและน่าเกรงขามมาก เหล่าอสูร ภูติผีปีศาจถ้าได้ยินก็จะรีบหนีกัน เรียกว่าพระแม่จะทรงเตือนก่อนว่า พระองค์กำลังจะเสด็จแล้ว

คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูรด้วยอาวุธ

   

   ปางที่ 4 เป็นปางของพระแม่ที่ทรงพระนามว่า ‘ กุชมานดา’ พระแม่พระองค์นี้กล่าวกันว่า
ทรงสร้างจักรวาลทั้งปวงโดยการหัวเราะเพียงครั้งเดียว ก็ปรากฏว่ามีไข่ หรือก็คือจักรวาลที่เราได้อาศัยอยู่นั่นเอง
พระแม่จะประทับอยู่เหนือสุริยจักรวาล และส่งประกายครอบคลุมจักรวาลไปทั้ง 10 ทิศ ทรงมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทั้ง
10 ทิศ ดั่งพระอาทิตย์ พระแม่ในปางนี้จะมี 8 พระกร ทรงอาวุธทั้งหมด 7 อย่าง ทรงถือประคำในมือขวา ทรงเสือเป็นพาหนะ ในปางนี้พระแม่โปรดที่จะได้รับการถวายผงจันทร์สีแดง

คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ

    

   สำหรับ พระแม่ดุรกาปางที่ห้านี้ มีพระนามว่า พระแม่ดุรกา สกันดามาตา นอกเหนือจากพระพิฆเนศแล้ว พระแม่อุมา และพระศิวะ ยังมีพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งก็คือ พระขันธกุมาร หรือ สกันดา นั่นเอง พระขันธกุมารนี้มีหลายพระนามมาก หลัก ๆ ก็มี สกันดา และ ขันธกุมาร สัญลักษณ์ของพระองค์ก็จำง่าย ๆ ก็คือ พระองค์จะทรงรูปลักษณ์ที่อ่อนเยาว์อยู่ตลอดเวลา พร้อมทรงถือพระขรรธ์ไว้ในมือเสมอ พระขันธกุมาร หรือ สกันดานี้ ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าแห่งกองทัพแห่งองค์เทพโดยแท้จริง ซึ่งก็คือเนื่องมาจากท่านได้ไปรบ และมีชัยเหนืออสูรร้ายตนหนึ่ง เมื่อพระองค์ยังเยาว์วัยอยู่ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งจากทวยเทพให้เป็นหัวหน้ากองทัพแห่งสวรรค์

   พระ แม่สกันดามาตานี้เป็นพระแม่ดุรกาปางที่ 5 ถือกำเนิดมาเมื่อครั้งที่พระแม่สตี พระมเหสีของพระศิวะได้ทำการเผาตนเองจนตาย เพราะน้อยใจพระทักษะพระบิดาที่ไม่ให้เกียรติพระศิวะ ปางนี้พระแม่ได้มาเกิดใหม่เป็นพระแม่อุมาปราวตี และได้บำเพ็ญตบะจนแก่กล้า จนพระศิวะท่านเห็นใจในความเพียร จึงยอมรับพระแม่เป็นพระมเหสีอีกครั้งหนึ่ง พระแม่อุมาปารวตีเมื่อได้แต่งงานกับพระศิวะอีกครั้ง ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายขึ้นมาพระองค์หนึ่งนามว่า “สกันดา” หรือ พระขันธกุมาร

   พระ แม่สกันดามาตานี้เป็นพระแม่ที่เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนแห่งไฟ พระแม่จะปรากฏกายโดยมีพระขันธกุมารนั่งอยู่บนตักเสมอ พระแม่สกันดามาตานี้จะมีดวงตาถึง 3 ดวงด้วยกัน
และมีพระกร สี่พระกร พระแม่สกันดามาตาจะมีพระฉวีสีขาว และประทับนั่งบนดอกบัว ทรงสิงโตเป็นพาหนะ พระแม่จะประทานพรด้านการมีบุตรที่ดีและการมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น

 คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบมหิษาสูร(ทุรคา)

   

   ปาง ที่หก ของพระแม่ดุรกาเทวีก็คือ พระแม่กาฏญาญาณี พระแม่กาฏญาญาณีนี้ ถือกำเนิดมาจากตำนานที่ว่า ครั้งหนึ่งมีบุตรของพระเจ้ากาฏ มีนามว่า กาฏญาญัณ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากตระกูล กาฏญา กาฏญาญัณนี้ได้บำเพ็ญตบะอย่างคร่ำเคร่งเพื่อต้องการที่จะขอพรให้ได้นางฟ้า นางสวรรค์ หรือมหาเทวี มาเป็นบุตรสาวของตน ด้วยเหตุนี้ พระแม่กาฏญาญาณีจึงได้ถือกำเนิดมาเป็นบุตรสาวของท่านกาฏญา และได้พระนามที่เรียกขานกันว่า พระนางกาฏญาญาณี พระแม่กาฏญาญาณีนี้มีดวงตาถึง 3 ดวง มีพระกรถึง 8 พระกร และทรงอาวุธครบมือทั้งเจ็ดพร้อมรบและเป็นอาวุธร้ายแรงที่ใช้ทำสงคราม มือประทานพร และประทานอภัย ทรงพาหนะเป็นราชสีห์เจ้าป่าชื่อ สีหะพานาราช พระแม่ปางนี้เสด็จไปที่ไหน อสูรร้ายก็จะพากันกลัวเกรงมาก

   

   พระ แม่กาฏญาญาณีนี้เชื่อกันว่าสามารถช่วยประทานพรให้คู่รักที่ไม่ได้แต่งงานกัน ง่าย ๆ ได้สมหวังในความรักได้ ด้วยการสวดขอพรจากพระแม่กาฏญาญาณี มีตำนานเล่าว่า มีมานพหนุ่มที่ชื่อว่า วริณดาวานา ได้ทำการขอพรจากพระแม่กาฏญาญาณีทุกๆวันหลังจากได้อาบน้ำชำระร่างกายที่แม่ น้ำยุมนา เพื่อให้ได้แต่งงานกับคนรัก

“โอ้ พระแม่ผู้ศักดิ์สิทธิ์และสูงส่งแห่งจักรวาล พระแม่ผู้ทรงพลังศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
ผู้ควบคุมความเป็นไปของทุกสรรพสิ่งในโลกนี้
โปรดกรุณาประทานพรให้ลูกได้แต่งงานกับคนที่ลูกปรารถนาด้วยเทอญ ……”

และ ก็ประสบความสำเร็จ เชื่อกันว่า องค์ของพระแม่ไม่ว่าจะถูกสร้างจากดินแห่งแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทำด้วยโลหะ หรือ เพชรนิลจินดาใดๆ พระแม่ก็จะประทานพรให้ทุกคนที่สวดขอพรจากใจ

คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรีหรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร

   

   ปาง ที่เจ็ดคือปางที่เรียกขานพระนามกันว่า กาลราตรี สมพระนามกล่าวคือ พระฉวีของพระแม่ในปางนี้จะสีดำสนิทดั่งความมืดแห่งสนธยากาล พระเกศายาวสยาย กระเซิงไม่เป็นระเบียบ สร้อยคอของพระองค์จะสว่างเป็นสีเงิน เปรียบได้ดั่งสีแห่งสายฟ้าฟาด พระแม่จะมีดวงตาถึงสามดวงด้วยกัน และดวงตาทั้งสามนี้จะกลมมากเปรียบได้ดั่งจักรวาลที่เราอาศัยอยู่ ดวงตาของพระแม่จะสุกสว่างมาก ทรงลาเป็นพาหนะ เหยียบพระศิวะ เมื่อเวลาพระแม่หายใจก็จะมีเปลวเพลิงพวยพุ่งออกมาจากทางจมูกตลอดเวลา พระแม่จะทรงยืนอยู่บนซากศพ และทรงถือดาบที่คมมากๆอยู่ที่มือขวา แต่มือซ้ายด้านล่างพระองค์ก็จะอยู่ในท่าประทานพรคือไม่ได้ฆ่า ทำลายล้างอสูรร้ายและคนชั่วอย่างเดียว พระองค์ยังทรงประทานพรด้วยสำหรับผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ส่วนมือซ้ายด้านบนจะทรงถือคบเพลิง เพราะท่านเสด็จเฉพาะกลางคืน ส่วนมือซ้ายด้านล่างลงไปอีกก็ทำท่าที่สื่อถึงสาวกของพระองค์ว่า “อย่ากลัว” เพราะพระแม่จะทรงคุ้มครองสาวกของท่านเสมอๆ

   

   พระแม่ปางนี้ถือเป็นสัญลักษณ์มหามงคล ชาวอินเดียบางครั้งจึงขนานนามพระองค์ว่า “ศุภะมกาลี” ทรงเป็นผู้ทำลายความมืด
และ ความโง่เขลา พระแม่กาลีเป็นเทวีปราบมารที่ร้ายแรงมาก เรียกว่า เป็นปางที่ทรงพลังอำนาจมากที่สุดในการทำลายอสูร และความชั่วทั้วปวง ถือกำเนิดออกมาจากกลางหน้าผากของพระแม่ดุรกาในยามพิโรธเหล่าปิศาจอสูรที่สุด เรียกว่าถ้าพระแม่กาลีเสด็จก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของการต่อสู้ เพราะไม่มีใครสามารถต้านทานพลังแห่งพระแม่ได้

คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์

   

   ปาง อวตารที่แปดของพระแม่ซึ่งมีพระนามว่า มหาโกรี ในปางนี้พระแม่จะปรากฏพระองค์ในลักษณะที่มีสี่พระกรเสมอ พระฉวีของพระองค์จะเป็นสีผิวที่ขาวผ่อง และงดงามมากเมื่อเทียบกับทุกๆปาง พระแม่จะฉายแววแห่งความรัก และความสงบออกมาจากปางนี้ ซึ่งต่างกับปางอื่นๆ มีแต่ปางที่แปดนี้เองที่ทรงดูสงบเยือกเย็น พระแม่ในปางที่แปดนี้จะสวมส่าหรีสีขาว หรือเขียวเสมอๆ พระองค์จะถือกลองและตรีศูล พระแม่ในปางที่แปดนี้จะทรงวัวเป็นพาหนะ

คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ

    

   ปาง ที่เก้า ซึ่งเป็นปางสุดท้าย พระแม่ทรงพระนามว่าพระแม่สิทธิราตรีหรือปางมารีอัมมัน พระแม่จะประทับบนดอกบัว มีสี่พระกร ทรงเป็นที่เคารพ บูชาของเหล่าเทพ ฤาษี มุนี โยคีและผู้ศรัทธา เพื่อความสำเร็จบรรลุธรรม อีกนัยหนึ่งคือปราบอสูรได้รับชัยชนะทุกครั้ง สำเร็จผลได้รับการสรรเสริญทั่วทั้ง 3 โลก และอันนี้สำคัญมาก พระแม่พร้อมที่จะประทานพรสำคัญทั้ง 26ประการ แก่สาวกของพระแม่ที่ทำการสวดขอพรอยู่เป็นประจำ สถานที่สำคัญที่สาวกของพระแม่ควรไปสวดอ้อนวอน และขอพรจากพระองค์จะอยู่ที่เมืองนันทประวัติ แห่งเทือกเขาหิมาลัย ตามตำนานกล่าวไว้เช่นนั้น

ทุรคา กาลี นวราตรี อุมา 9 ปาง

 

นวราตรี พระแม่อุมา 9 ปาง

ขอบขอบคุณ buddha.fix.gs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น