รามเกียรติ์ ลังกา

มหากาพย์แห่งชมพูทวีป ตอนที่1 รามายาณะ

วันนี้ได้จับหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติมาอ่านเลยนึกถึงมหากาพย์เรื่อง รามายาณะ ซึ่งเป็นต้นฉบับของรามเกียรติ์ที่เราอ่านกันมา มาทำความรู็้กกันดีกว่าจ้าพระราม

รามายณะ (สันสกฤต: रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้

พาลกัณฑ์
อโยธยากัณฑ์
อรัณยกัณฑ์
กีษกินธกัณฑ์
สุนทรกัณฑ์
ยุทธกัณฑ์
อุตตรกัณฑ์

รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่าย พระราม กับ ฝ่าย ทศกัณฐ์ (ยักษ์) โดยพระรามจะมาชิงตัว นางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อ พระลักษมณ์ และ หนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย

รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน ส่วนในหมู่ชาวลาวนั้น เรียกว่า พะลักพะลาม (พระลักษมณ์พระราม)

รามเกียรติ์ หนุมาน

รามายาณะ (Ramayana)  เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดียและยังแพร่ไปสู่หลายประเทศในเอเซีย เช่น ในเมืองไทยเรียกว่า รามเกียรติ์ ในลาวเรียกว่าพระลักษณ์พระราม ในอินโดนีเซียเรียก รามายณะ นอกนั้นยังมีที่กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่าและเนปาล เรื่องนี้แต่งโดย ฤๅษีวัลมีกิ (Valmiki)
นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่าเป็นการรุกรานต่อพวกมิลักขะของพวกอารยัน โดยมีพระรามอันเป็นเป็นตัวแทนชาวอารยัน กับราวณยักษ์ฝ่ายมิลักขะ คำว่ารามายณะ แปลว่า การไปของพระราม ซึ่งหมายถึงการบุกป่า ฝ่าดงของพระรามในการติดตามหานางสีดา
เป็นวรรณกรรมยาวเป็นที่สองรองมาจาก มหาภารตะ มีโศลก ๒๔,๐๐๐ บท แบ่งออกเป็น ๗ กัณฑ์

รามเกียรติ์ ลังกา

พระราม พระลักษณ์และนางสีดา

เรื่องย่อของรามายณะกล่าวถึง ท้าวทศรถ (Dasharatha) แห่งเมืองอโยธยา (Ayodhya) มีพระมเหสี ๓ องค์ แต่ที่ปรากฏชื่อมี ๑ องค์คือ ๑. พระนางไกเกยี มีพระโอรส ๑ พระองค์คือ เจ้าชายภารตะ มเหสีอีกองค์มีโอรส ๒ ประองค์คือ พระรามและพระลักษณ์ ส่วนมเหสีอีกองค์ไม่ได้ระบุว่ามีโอรสหรือธิดา พระนางไกเกยีต้องการให้บุตรของตนคือท้าวภารตะครองราชสมบัติต่อจากท้าวทศรถ พระองค์จำยอมเพราะเคยประทานพรไว้คราวนางประสูติพระโอรส พระรามและพระลักษณ์ จึงต้องไปสู่ป่า ตามคำสั่งของพระบิดา พร้อมนางสีดา ผู้เป็นชายา ทั้งสามชิวิตอาศัยที่ภูเขาวินทยะ

ต่อมาสุรภนกะ น้องสาวของยักษ์ราวณะแห่งกรุงลังกา (ในไทยเรียกว่าท้าวทศกัณฑ์) มาเห็นพระลักษณ์ ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง แต่พระลักษณ์ไม่ชอบ ฝ่ายนางก็ไม่ละความพยายาม ด้วยความโมโห พระลักษณ์จึงตัดจมูกนางด้วยดาบ สร้างความโกรธแค้นให้กับราวณะผู้พี่ชายอย่างยิ่ง จึงให้ลูกน้องแปลงร่าง เป็นกวางมาล่อระรามไป แล้วทำเลียนเสียงเหมือนพระรามให้ไปช่วย พระลักษณ์จึงออกตามหา คงเหลือนางสีดาคนเดียวที่กระท่อม เมื่อได้จังหวะจึงจับนางสีดาไปกรุงลังกา พระรามพระลักษณ์ออกตามหา ได้เจอสุกรีวะ หัวหน้าลิงซึ่งมีลูกน้องชื่อดัง คือหนุมาณ พวกเขาสัญญาจะช่วยตามหานางสีดา เมื่อทราบว่าถูกลักพาไปลังกา กองทัพลิงจึงสร้างสะพานไปลังกา แล้วยึดนางสีดามาคืนนางสีดามาคืนสำเร็จ ราวณะก็ถูกฆ่า ทั้งหมดก็กลับไปครองราชย์ที่อโยธยาอย่างมีความสุข

นางสีดาอาศรม

ความแตกต่างระหว่างรามายณะและรามเกียรติ์ มีหลายประการ เช่น

1. ในรามายณะ หนุมานเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวร ชื่อรุทรอวตาร หนุมานในรามายณะไม่เจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ซึ่งแสดงค่านิยมของชายไทยโบราณอย่างเห็นได้ชัด

2. ในรามายณะ ชาติก่อน ทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์เป็นนายทวารเฝ้าที่อยู่ของพระนารายณ์ชื่อชัยกับวิชัย ซึ่งพระนารายณ์ห้ามไม่ให้ใครเข้าในเวลาที่ทรงเกษมสำราญ ต่อมามีฤๅษีมาขอเข้าพบพระนารายณ์ นายทวารทั้งสองไม่ยอมให้เข้า ฤๅษีจึงสาปให้ชัยกับวิชัยต้องไปเกิดในโลกมนุษย์ได้รับความทรมาน พวกเขาจึงไปขอความเมตตาจากพระนารายณ์เพราะตนเพียงแต่ทำตามคำสั่งเท่านั้น พระนารายณ์บอกว่าแก้คำสาปฤๅษีไม่ได้แต่บรรเทาให้เบาบางลงได้ โดยให้ทั้งสองไปเกิดเป็นยักษ์เพียงสามชาติ และทั้งสามชาติพระนารายณ์จะลงไปสังหารทั้งสองเองเพื่อให้หมดกรรม ชาติแรกชัยกับวิชัยเกิดเป็นหิรัณยักษ์กับหิรัณยกศิปุ พระนารายณ์อวตารเป็นหมู และนรสิงห์ไปปราบ ชาติที่สองนายทวารทั้งสองเกิดเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามไปปราบ ชาติที่สามนายทวารทั้งสองเกิดเป็นพญากงส์ และศรีศุภปาน พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะไปปราบ

3. กุมกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมภกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฑ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น เขาย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและเขาไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฑ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฑ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้

4. ในรามายณะไม่มีตัวละครหลายตัวที่รามเกียรติ์แต่งเพิ่มขึ้นมา เช่น ท้าวจักรวรรดิ ท้าวสหัสเดชะ ท้าวมหาชมพู และมีตัวละครหลายตัวที่ถูกรวมเป็นตัวเดียว เช่น สุกรสารในรามเกียรติ์ มาจากสายลับของกรุงลงกาสองคนชื่อสุก กับ สรณะ

ขอบคุณ wikipedia Thailand และ indiaindream.com จ้า


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น