วัดหว่องไทซิน (ตามเสียงภาษากวางตุ้ง หรือ หวังต้าเซียนในภาษาแมนดาริน ) เป็นวัดที่สร้างมาจากอิทธิพลของลัทธิเต๋า ในปีคริสต์ศักราช 1921 (ลัทธิเต๋า ก่อตั้งโดยท่านเล่าจื้อ ยึดหลักการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย) และเป็นหนึ่งในสถานที่ๆ มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของฮ่องกง นอกจากนี้ยังได้รับการกล่าวขานถึงจากชาวจีนที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป รวมถึงในอเมริกาด้วยเช่นกัน

หว่องไท้ซิน มีชื่อตามนักบวช หว่อง ชิวปิง เมื่อครั้งที่เขาอายุได้ 15ปี ก็ได้เข้าสู่ลัทธินิกายเต๋าจนกระทั่ง 40 ปีต่อมา ท่านก็บรรลุเห็นถึงปรัชญาแห่งเต๋า และเริ่มต้นการเป็นนักบวช โดยได้รับการขนานนามว่า หว่อง ไท้ ซิน นับแต่นั้นมา มีการกล่าวขานว่านักบวชท่านนี้สามารถทำโทษปีศาจร้าย รักษาอาการบาดเจ็บ และยังปลดปล่อยความตายได้

อิทธิพลของ หว่อง ไท้ ซิน เริ่มแผ่ขยายจาก มณฑลกวางดอง ทางตอนใต้ของจีน เข้าสุ๋ฮ่องกงในช่วงต้นศตวรรษ ที่20 ด้วยความเชื่อและพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จึงสามารถได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธามากจากสังคมชาวจีนในสมัยนั้น

วัดหว่องไทซิน มีชื่อเสียงอย่างมาก ในด้านของการทำนายโชคชะตาจาก เซี่ยมซี่ เชื่อกันว่า หากใครตั้งจิตอธิษฐานแล้ว มักจะได้รับคำตอบจากคำทำนายที่แม่นยำกลับไปเสมอ ด้วยเหตุที่วัดหว่องไท้ซินแห่งนี้ได้รับการยอมรับจากผู้มีจิตศรัทธามากราบไหว้คารวะอย่างมากมาย แสงเทียน และควันธูป จึงมิเคยจางหายไปจากวัดแห่งนี้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญอย่างวันตรุษจีน หรือ วัดก่อตั้งวัด ซึ่งตรงกับวันที่ 23ของเดือน 8 ตามปฏิทินจีน (ประมาณกันยายนของปฏิทินสากล)

สถาปัตยกรรมของวัดหว่องไทซิน ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของจีนได้อย่างลงตัว ด้วยโครงสร้างเสาหลักสีแดง งามสง่าด้วยหลังคาสีทอง ประดับประดับตามมุมขอบบัวด้วยพู่ไหมสีฟ้า สีเหลืองของตาข่าย ความประณีตของงานแกะสลักสร้างให้เกิดสีสรรอันบรรเจิด ด้านข้างของอารามหลวงยังมีสวนให้เข้าไปเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ซุ้มประตูของวัด มี 3ซุ้ม ซุ้มที่หนึ่งคือประตูทางเข้าประดับด้วยชื่อของวัด เมื่อเราเดินผ่านซุ้มที่สองจะเห็นบรรดาหมอทำนายดวงชะตา และสุดท้ายเราจะเห็นกำแพงเก้ามังกร Wall of Jiulong (九龍壁) ซึ่งจำลองบางส่วนตามกำแพงเมืองจีนในปักกิ่ง รวมถึงสวนอย่าง Congxin Yuen(從心園) ซึ่งจำลองแบบจากพระราชวังฤดูร้อน ที่ปักกิ่งอีกด้วย

ปัจจุบันวัดหว่องไทซิน แห่งนี้ยังเป็นเพียงวัดเดียวในฮ่องกง ที่อนุญาติให้ใช้สถานที่ในการจัดพิธีแต่งงานเพื่อความสิริมงคลให้กับชีวิตต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก www.bloggang.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น