วันไหว้ตรุษจีน และวิธีการไหว้เจ้า

คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ

  • ตอนเช้ามืดจะไหว้ “ไป่เล่าเอี๊ย”
    เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้าน้ำชาและกระดาษเงินกระดาษทอง
  • ตอนสาย จะไหว้ “ไป่แป๋บ้อ”
    คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
  • ตอนบ่าย จะไหว้ “ไป่ฮ่อเฮียตี๋”
    เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัด เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา(ซองแดง)
คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง ^_^

การจัดของไหว้ สำหรับไหว้เจ้าที่ประกอบด้วย
  1. ของ คาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย
    1. ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่
    2. ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วยหมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา ขนมไหว้ ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย(เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)
  2. จำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ ของคาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่าง
    1. อื้ คำ นี้ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊กลมๆ แป้งนิ่มๆ เคี้ยวง่าย กลืนง่าย ให้ความหมายมงคลอวยพรให้ชีวิตราบรื่นง่ายดาย เหมือนขนมอี๊ที่ไหว้ และรับประทาน
    2. ขนมจันอับซาลาเปา ขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง
    3. ขนมไหว้พิเศษขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องมียืนเป็นหลัก
    4. โหงวเส็กที้งแปลว่า ขนม 5 สี อันได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ข้างพอง
    5. ถั่วเคลือบ น้ำตาล และฟักเชื่อมบางทีก็เรียกว่า “ขนมจันอับ”
    6. ผลไม้ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอ๊ปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ
    7. ส้มคนจีนเรียกว่า กา แต่ก็มีอีกคำหนึ่งเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี (ส่วนมากนิยมไหว้ 4 ผล เพราะเลขสี่พ้องเสียงคำ “สี่” ที่แปลว่าดี)
  3. เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ก็จัด 5 ที่เช่นกัน
  4. กระดาษเงิน กระดาษทอง ชุดไหว้เจ้าที่ จำนวนธูปไหว้ คนละ 5 ดอก

 

การจัดของไหว้ สำหรับไหว้บรรพบุรุษประกอบด้วย
  • ของคาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย
    • ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่
    • ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา
      กับข้าว นิยม 8 อย่าง หรือ 10 อย่าง โดยให้มีของน้ำ 1 อย่าง
      ข้าว ข้าวสวยใส่ชาม พร้อมตะเกียบ จำนวนชุดตามจำนวนบรรพบุรุษ นิยมนับถึงแค่รุ่นปู่ย่า
  • การไหว้ที่หน้ารูปบรรพบุรุษ หลังจากไหว้เจ้าที่เสร็จแล้วจำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ของ คาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่างขนมไหว้
    • ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย(เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)
    • ขนมจันอับ ซาลาเปาขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง
    • ขนมไหว้พิเศษขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องมียืนเป็นหลัก
    • ผลไม้ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอ๊ปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ
  • เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่ หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ ก็จัด5 ที่เช่นกัน
  • กระดาษเงิน กระดาษทอง ต้องมี อ่วงแซจิ่ว สำหรับใบเบิกทางให้บรรพบุรุษลง มารับของไหว้
  • ทองแท่งสำเร็จรูป แบงก์กงเต็ก ค้อซี ฯลฯจะมากหรือน้อยแล้วแต่เรา จำนวนธูปไหว้ คนละ 3 ดอก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น