HopeDiamond

หิน แร่ และอัญมณี เป็นสสารที่ใช้เวลาในการตกผลึกนับล้านๆปี ยิ่งชิ้นใหญ่ก็ยิ่งต้องอาศัยปัจจัยที่เหมาะสมมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะสะสมพลังงานเอาไว้ มาติดตามอ่านเรื่องความอาถรรพ์ของเพชรสีน้ำเงินเม็ดนึงกันนะจ๊ะ   ความอาถถรพ์เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ไปขโมยมาจากเทวรูป ความโลภแท้ๆ HopeDiamond

เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร “โฮป” เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน

โฮปไดอามอนด์ ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี 1660 (บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต(22.44 กรัม) เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668

* ตามตำนานกล่าวว่าตาแวร์นีเย ป่วยตายหรือไม่ก็ถูกหมาป่ากินเพราะเพชรต้องสาปนักบวชของวิหารจึงตั้งคำสาปทุกคนที่มาเป็นเจ้าของเพชร แต่ในความจริงทาเวอร์เนียมีชีวิตอยู่ตามปกติจนเสียชีวิตไปเมื่ออายุ 84 ปี

ปี 1668 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซื้อเพชรจากทาเวอร์เนีย ด้วยราคา 3,000,000 เพชรถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean) และเป็นที่รู้จักในนาม “เพชรตาแวร์นีเยสีฟ้า” (The Tavernier Blue) เพชรสีน้ำเงินฝรั่งเศส (The French blue) หรือเพชรสีน้ำเงินแห่งมงกุฎ (The Blue Diamond of the Crown) เพื่อใช้ติดกับเสื้อคลุมในงานพิธี พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชทานนามใหม่ให้กับเพชรว่า French Blue

* ตำนานกล่าวว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีโอกาสใส่เพชรนี้เพียงครั้งเดียวก่อนจะป่วยตายด้วยโรคระบาด คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมอบเพชรให้แก่มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) แต่ไม่นานหลังจากนั้นนางก็กลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812

*เคราะห์กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมาใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ

*ปี 1792 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรจากราชวังที่ปิดตายอยู่ ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มาจนเหลือขนาด 44.50 กะรัต

บันทึกความทรงจำของจอห์น ฟรานซิลลอน (john Francillon) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอนเขียนไว้ว่า เพชรสีน้ำเงินหนัก 45-52 กะรัตได้ปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1830 ที่อังกฤษ โดย เดเนียล แอเลียสัน (Denial Eligson) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอน เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจียระไนเป็นรูปหมอนและขายให้แก่เฮนรี ทอมัส โฮป (Henty Thomus Hope) นักการธนาคารชาวอังกฤษ ดังนั้นเพชรสีน้ำเงินจึงได้ชื่อใหม่ตามชื่อของเขาคือ เพชร “โฮป” โฮป เพชรถูกทำเป็นเข็มกลัด และตกทอดผ่านลูกหลานตระกูลโฮปไปอีกหลายรุ่น

*ตำนานกล่าวว่าหลังจากถูกขโมย เพชรถูกขายให้กับช่างเจียระไนเพชรในอัมสเตอร์ดัมส์ ซึ่งลูกชายของช่างที่ขโมยออกมาขายก็เกิดคลุ้มคลั่งจนฆ่าตัวตายไป ส่วนเอเรียสันนั้นถูกกล่าวว่าตกม้าตายหลังจากซื้อเพชรมาไว้ในครอบครอง

ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope) ซึ่งได้เป็นเจ้าของเพชรของพ่อของเขา ท้ายที่สุดแล้วกลับล้มละลายและเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง

*ภายหลังเมย์ภรรยาเก่าหย่ากับฟรานซิสและใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นไปจนเสียชีวิต เธอกล่าวว่าเคราะห์ร้ายของตัวเองเป็นเพราะโฮปไดอามอนด์ แต่ในความจริงแล้ว ตระกูลโฮปหลายคนเกี่ยวข้องกับเพชรเม็ดนี้และไม่ปรากฏว่ามีใครเคราะห์ร้ายแต่อย่างไร

ปี 1901 ฟรานซิสล้มละลาย จึงขายเพชรต่อให้กับพ่อค้าเพชรในลอนดอนชื่ออดอฟล์ เวล เป็นเงิน 29,000 ปอนด์ ซึ่งอดอฟล์ก็ขายต่อให้กับไซมอน แฟรงเกล พ่อค้าเพชรชาวอเมริกาอีกที

ปี 1908 แฟรงเกลขายเพชรให้กับโซโลมอน ฮาบิบ ชาวกรีก เป็นเงิน 400,000 ดอลล่าร์

ปี 1909 ฮาบิบเอาเพชรออกขายในงานประมูลเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ และพ่อค้าเพชรโรสนัวก็เป็นผู้ซื้อไปก่อนจะขายให้กับปีแยร์ การ์ตีเย ในปี 1910 เป็นเงิน 550,000 ฟรัง

* ตำนานกล่าวว่าพ่อค้าเพชรซึ่งซื้อโฮปไดอามอนด์ (ไม่มีการระบุชื่อ) ยิงตัวตาย และเจ้าของคนถัดมาเป็นเจ้าชายรัซเซีย ซึ่งคนรักที่เป็นนักร้องถูกยิงตายระหว่างการแสดง ตัวเจ้าชายเองถูกกลุ่มปฏิวัติลอบสังหาร พ่อค้าชาวอียิปต์เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรถไฟ ตอนที่พ่อค้าชาวกรีกขายเพชรนี้ เขาก็กำลังจะล้มละลาย

ต่อมาปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีส ได้ขายเพชรโฮปผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul – Hamid)

*เพชรตกเป็นของสุลต่านแห่งตุรกี อับดุล ฮามิดที่ 2 ในตอนนั้นอาณาจักรออสมันด์กำลังจะล่ม พระองค์จึงถูกเรียกว่าเป็น”ราชาที่ถูกเพชรสาป”

ต่อมาอาณาจักรออสมันด์ของฮามิดล่มสลาย เพชรจึงถูกนำมาประมูลขายมาใช้หนี้ โดยปิแอร์ คาร์เทียร์เป็นผู้ได้เพชรเม็ดในปี 1950 เป็นเงิน 550,000 ฟรัง และปี 1911 จึงตกแต่งเพชรขายให้กับ วิลเลียม แมกลีน (William Mclean) คนสำคัญในวงการหนังสือพิมพ์ แล้วเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีนต้องการให้พระทำพิธีขับไล่ผีในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี “ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี” ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้

*โชคร้ายที่ดูเหมือนคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีนอายุ 9 ขวบ หลุดรอดจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนจึงดื่มเหล้าและหลังจากนั้นไม่กี่เดือนลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ

ใน ค.ศ. 1949 หลังจากที่ภรรยาของแมกลีนเสียชีวิตแล้ว แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา

*ตำนานกล่าวว่าแม่ของแมคลีนเสียชีวิตหลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ 2 คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีของเธออีกคน หลังเหตุการณ์นี้ เอวาลินหย่าจากเอ็ดวาร์ด ซึ่งตัวเอ็ดวาร์ดเอง หลังจากป่วยมีอาการทางจิตก็เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่นั่น ลูกสาวเพียงคนเดียวของเอวาลีนตายเนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด เอวาลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผลและต้องเสียครอบครัวทั้งหมดไป (ในความเป็นจริง ยังมีหลานอยู่รับกรรมสิทธิ์ต่อ)

ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นที่ที่จัดแสดงเพชรจนถึงปัจจุบัน

*อันนี้ไม่รู้ว่าจริงแค่ไหน แต่มีการกล่าวว่าแฮรี่ส่งโฮปไดอามอนด์ให้กับพิพิทธพันธ์ด้วยการใส่ซองส่งไปทางพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา โดยจ่ายค่าประกันเป็นเงินเพียง 160 ดอลล่าร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น