ที่มาของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ได้ถูกจารึกเป็นเครื่องหมายไว้ที่นี่ ด้วย “หลักเมือง” พร้องเสียงร่ำร้องจากอดีตถึงพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง นับเนื่องจากอดีต พิธีการตั้งเสาหลักเมืองไม่ใช่แบบแผนของชาวพุทธ แต่เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ที่มีมาแต่สมัยอินเดีย เรื่องของพิธีกรรมและไสยศาสตร์ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และเกิดเสียงเล่าขาน เป็นเรื่องราวพิสดารจากผู้เฒ่าในกาลก่อนว่า…

  ครั้งโบราณถือว่าพิธีสร้างพระนคร หรือสร้างบ้าน สร้างเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และต้องฝังเสาหลักเมืองแม้เสามหาปราสาทก็เช่นกัน การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน, จัน, มั่น และคง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองเคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมเป็นๆ ทั้ง ๔ คน เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท และประตูเมือง คอยคุ้มครองบ้านเมือง.. ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยมิให้เกิดแก่คนในนคร

 

การฝังอาถรรพ์ก็เป็นคนเป็นล้วนๆถึง 52 คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ 3คน 12 ประตูก็เป็นทั้งหมด 36 คน และเฉพาะใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงต้องฝังถึง 4 คน และคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร

แต่จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆกันมีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด
ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู
 เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุมญาติพี่น้องก็จะได้รับพระราชทานรางวัล 

แม้ในการตั้งเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีการกล่าวถึงว่าเมื่อครั้งพระบามทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎรและเพื่อเป็นนิมิหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ซึ่งเสาหลักเมืองที่ใช้เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ที่ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร ที่มีความสูง ๑๘๗ นิ้ว และบรรจุดวงเมืองไว้ที่ยอดเสารูปบัวตูมบรรจุดว งชะตาของกรุงเทพฯ

แล้วได้มีการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้วมีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในครั้งนั้นเล่ากันเป็นเรื่องพิสดารว่าก่อนตั้งเสาหลักเมือง พราหมณ์ได้ถือเอาฤกษ์ตามวันเวลา ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก ๕ องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้า พ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
 
       ซึ่งหญิงมีครรภ์จะเดินเข้ามาใกล้ปากหลุม ครั้งถึงวันเวลานั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาใกล้ปากหลุมจึงถูกผลักลงหลุมไป และทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองฝังร่างหญิงคนนั้นไว้กับเสา เรื่องราวน่าเวทนาที่ใช้ชีวิตคนเป็นๆ ฝังไว้กับเสานี้ ไม่มีข้อมูลใดๆ มายืนยัน คงเป็นแต่เพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาแม้ในพงศาวดารก็ไม่มีบันทึก ด้วยการตั้งเสาหลักเมืองถือเป็นพิธีมหามงคล ซึ่งพระมหากษัตริย์กระทำเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร การนำชีวิตผู้คนมาฝังทั้งเป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องมงคลจึงไม่น่าเป็นเรื่องจริง แต่อาจเป็นด้วยกาลเวลาหรือผู้เล่าเห็นแปลกในการประกอบพิธีกรรมอย่างพราหมณ์จึงแต่งเติมเรื่องราว ให้ดูแปลกไปเหมือนอย่างนิยายปรัมปรา

 วันนี้ เสียงลือเสียงเล่าถึงเรื่องราวของผู้สังเวยชีวิตที่ก้นหลุมเสาหลักเมือง ได้ลางเลือนไปตามวันเวลา เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ยังไร้เหตุแห่งความจริง
     คงเหลือไว้เพียงภาพปัจจุบัน ของความเชื่อถือศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ภายในศาล ที่ผู้คนยังคงแห่แหนจากทั่วสารทิศ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อพึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้คอยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มภัย 

” ทุกวันนี้ศาลหลักเมืองจึงยังคงประดุจหลักใจ หลักชัย ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ดังพระประสงค์ขององค์ปฐมบรมกษัตริย์เฉกเช่นที่เคยเป็นมาแต่ครั้งอดีต จวบจนปัจจุบัน “

ขอบคุณข้อมูลจาก www.atcloud.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น